Wednesday, December 16, 2009

โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ ลดความอ้วนกับ อ้วน.คอม

โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ ลดความอ้วนกับ อ้วน.คอม: "โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2009 »

ปุจฉา : โรคอ้วนระบาดมากในสังคมปัจจุบันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นไปทั้งชาย-หญิง จึงใคร่ขอหลักธรรมเพื่อประกอบการปฏิบัติ ในการเอาชนะโรคอ้วนในหมู่ชาวไทย และอยากจะเชิญชวนทุกๆ คน ช่วยกันรณรงค์ลดความอ้วน โดยถือฤกษ์ในวันที่ ๒ เมษายน นี้ เป็นวันประกาศเอาชนะโรคอ้วน
จึงขอพระคุณเจ้าช่วยให้อนุสติธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกๆ คนที่ต้องการออกจากโรคอ้วน นมัสการมาด้วยความเคารพ
จาก ผู้ (ไม่) หวังดีต่อโรคอ้วน
วิสัชนา : เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑ อาตมาได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรม ณ โรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีการจัดอบรมในเรื่อง ความสุขโดยองค์รวม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพกาย-จิตที่ดีด้วยการวางหลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ การบริหารร่างกายที่ สม่ำเสมอ และการพัฒนาจิตสู่ความเข้มแข็ง
ในส่วนของอาตมา ได้กล่าวบรรยายธรรมให้คณะผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบถึงระเบียบวินัย ข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงวางระเบียบจัดระบบการพัฒนากาย-จิต โดยทรงมุ่งเน้นความมีประโยชน์เพื่อการปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทโดยเฉพาะพระสงฆ์สาวกได้รู้จักการกินอยู่หลับนอนอย่างถูกสุขอนามัยโดยธรรม บนวิถีความสันโดษและมักน้อยในฐานะสมณสารูป
ตามหลักการที่พระสงฆ์จะต้องพัฒนากาย-จิต ไปสู่ประโยชน์ตามลำดับ จนถึงซึ่งจุดหมายสูงสุดของการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาคือ ความสิ้นทุกข์ หรือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านสาธุชนพึงควรสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากปุจฉาของวันนี้ซึ่งต้องการเอาชนะโรคอ้วนว่า จะมีแนววิธีปฏิบัติอย่างไรในพระพุทธศาสนา...
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตในวิถีพุทธ ท่านทั้งหลายจึงควรเรียนรู้หลักธรรมปฏิบัติของ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ตามพุทธบัญญัติที่ว่าด้วยนิสัย ๔ ของพระสงฆ์ ที่ต้องประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือ ๑.บิณฑบาต ๒.กวาดลานวัด ๓.ดื่มน้ำมูตร ๔.อยู่โคนต้นไม้
หากจะขยายความในการบิณฑบาตนั้น มีความหมายลึกซึ้งมากในคุณประโยชน์ นอกเหนือจากการไปขอภัตตาหารจากชาวบ้าน แล้ว ยังมีความหมายถึงการสร้างนิสัยของพระสงฆ์อันเป็นข้อวัตร ที่ต้องปฏิบัติ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบิณฑบาต ด้วยพระองค์เองเพื่อโปรดสัตวโลกทั้งหลายอย่างเป็นปกติที่เรียกว่า บิณฑจาริกวัตร อันสืบทอดต่อเนื่องในวงศ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์ และสืบเนื่องถึงพระสงฆ์สาวกทั้งหลายซึ่งหากมองอย่างผิวๆ
โดยทั่วไปดุจเป็นการไปขอ หรือภิกขาจารแต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นความเมตตากรุณาเพื่อให้เกิดกระบวนการให้ทาน อันทำให้เกิดบุญกุศลแก่ศรัทธาสาธุชนทั้งหลาย เพราะพระสงฆ์มีกำลังศีลกำลังธรรมอันควรแก่การเป็นที่พึ่งของบุคคลทั้งหลายจึงเป็นความเมตตากรุณาต่อเวไนยสัตว์ และสำคัญอย่างยิ่งยังเป็นการพัฒนากาย-จิตควบคู่กันไป โดยอำนาจแห่งธรรมที่ต้องเจริญอยู่ตลอดเวลาทั้งสติ สัมปชัญญะ และปัญญาธรรม อีกทั้งในยามเช้าอากาศบริสุทธิ์ได้เดินออกกำลังกายด้วยการเจริญสติทั้งไปและกลับ จึงเป็นการพัฒนาสุขภาพกาย-จิตที่ได้ผลยิ่งนักโดยเฉพาะเมตตากรุณาที่เพิ่มพูนขึ้น ในจิตใจ
นอกเหนือจากเจตนาธรรมเพื่อเกื้อกูลสัตวโลกให้ได้รับผลบุญกุศล จากการถวายภัตรหรือใส่บาตรพระสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ขบฉันเสร็จเรียบร้อยก็จะต้องล้างบาตร เช็ดบาตร ผึ่งบาตร จัดเก็บบาตรให้เรียบร้อยและถูกสุขอนามัยอย่างดี มีที่วางบาตร มีถุงบาตร ทุกๆ อย่างต้องสะอาดโดยปกติและต้องทำอย่างมีสติทุกขั้นตอน เสร็จกิจแล้วจึงออกกำลังกายโดยการกวาดลานวัด เช็ดถูศาลาเสนาสนะทั้งหลาย แบ่งกันกิน-ร่วมกันทำ-อยู่กันด้วยความเคารพ... และมุ่งเน้นความสามัคคีในหมู่คณะตามวิถีหลักแห่งธรรมที่ว่า คารโว จ นิวาโต จ สันตุฎฐี จ กตัญญุตา ซึ่งนี่คือความเป็นมงคลในพระพุทธศาสนาที่จะสำเร็จเกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยการปฏิบัติ หรือพูดกันให้สั้นๆ แบบภาษาชาวบ้านว่า กิน กวาด เก็บ เกื้อกูล โดยธรรม นั่นเป็นกิจกรรมที่ควรยิ่งที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัยของสมณะหรือฆราวาสธรรม ทั้งหลาย
และหากมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนก็จะมีเภสัชโดยธรรมชาติบำบัด มุ่งเน้นการสร้างภูมิต้านทาน (Anti-body) ได้แก่ การดื่มน้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตรซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แม้แต่ใน วงการแพทย์ก็ยังนำมาใช้แนะนำในการบำบัดแก่ผู้ป่วยเพื่อซ่อมแซมสุขภาพกายรักษาสุขภาพจิต ที่สำคัญยิ่งก็คือการพัฒนาชีวิตให้ไปสู่ความบริสุทธิ์ด้วยการพัฒนาจิตสู่วิถีสัจธรรม พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติว่าต้องอยู่โคนต้นไม้ นั่นหมายถึง การมุ่งเจริญภาวนาสติ ปัฏฐานสี่อย่างต่อเนื่อง ใช้หลักเมื่อกายพร้อมจิตพร้อมก็จะสามารถพัฒนาการน้อม โน้ม โอน สู่ธรรมกระแสได้ทุกเวลา เพื่อการแทงตลอดในธรรม
ด้วยเหตุนี้ ความหมายของการเจริญอยู่โคนต้นไม้ จึงมุ่งเน้น การอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อเกื้อกูลต่อการเจริญภาวนาให้สามารถเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่ปัญญาญาณ กล่าวโดยย่อว่า “อยู่โคนไม้” ซึ่งมุ่งเน้นการสันโดษ-มักน้อยอันเป็นหัวใจในการสร้างนิสัยทุกๆ อย่างที่ต้องนำมาใช้ประโยชน์นั้นแค่พอเหมาะ ไม่มากและไม่ถึงกับน้อยเกินไป พระสงฆ์จะขบฉันมื้อเดียว ที่นั่งเดียว
ตามข้อวัตรธุดงค์สำหรับพระกรรมฐาน ซึ่งมีการดำรงตนเพื่อต้องการประโยชน์โดยธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์ตามมโนปณิธานในการเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แม้เครื่องนุ่งห่มก็จะมักน้อยใช้เพียงแค่ไตรจีวรหรือผ้าสามผืนเท่านั้น



อ้วน.com ขอขอบคุณ - โพสต์ทูเดย์"