Thursday, December 17, 2009

วันละเรื่อง.....

วันละเรื่อง.....: "ว่ากันว่า การฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยใหม่ๆ นั้น ต้องใช้ทั้งเวลา ความตั้งใจ รวมทั้งความสม่ำเสมอด้วย จึงจะทำให้นิสัยนั้นๆ ติดตัวเราไปได้ค่ะ

ในเรื่องของสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของเราก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการสร้างนิสัยที่ดีเพื่อให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ถ้าทำได้ก็รับรองได้ว่าเราจะมีความสุขการสบายใจอย่างแน่นอน หนทางสู่การมีชีวิตอย่างที่ว่านี้ มีอยู่มากมายหลายวิธีค่ะ แต่ฝรั่งเขารวบรวมไว้ว่า ในเบื้องต้นนั้นมีอยู่ 13 ประการ

มาดูกันไปทีละข้อเลยดีกว่านะคะ........

นิสัยดีข้อที่หนึ่ง กินอาหารเช้าทุกวัน

ผู้ที่กินอาหารเช้าเป็นประจำถือเป็นแชมเปี้ยนของผู้มีสุขภาพดีค่ะ มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่กินอาหารเช้ามีแนวโน้มที่จะได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่มากกว่า และได้รับไขมันและคอเลสเทอรอลน้อยกว่า ซึ่งเป็นผลให้คนกินอาหารเช้าจะมีหุ่นผอมเพรียวกว่า มีระดับคอเลสเทอรอลต่ำกว่า และมีโอกาส 'กินมากเกินไป' น้อยกว่าด้วยค่ะ

นิสัยดีข้อที่สอง กินปลา และกินอาหารที่มีไขมันโอเมกา-3

ปลานั้นเป็นแหล่งโปรตีนที่เยี่ยมยอดค่ะ แถมปลาบางชนิดยังมีไขมันชนิดดี คือ ไขมันโอเมกา-3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูนา ปลาซาร์ดีน (พวกเรา! อย่ามองข้ามปลากระป๋อง) ถ้าจะไม่กินปลาก็กินเต้าหู้หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก็ได้ค่ะ เนื่องจากในถั่วเหลืองจะมีกรดอัลฟา-ลิโอเลนิก ซึ่งจะเปลี่ยนเข้าไปในร่างกายแล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อหัวใจ และไปช่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันด้วย เพราะดูเหมือนว่าโอเมกา-3 จะช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ หอบหืด แผลเปื่อย และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบางอย่างด้วยค่ะ

นิสัยดีข้อที่สาม นอนหลับให้เพียงพอ

ร่างกายของเราต้องการพักผ่อนที่เพียงพอค่ะ ไม่เช่นนั้น เราจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและฉุนเฉียวง่าย การนอนหลับนั้นมีความสำคัญต่อทั้งร่างกายและอารมณ์เลย การนอนน้อยทำให้สมองไม่แจ่มใส เรียนรู้อะไรก็ไม่ค่อยเข้าหัว ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลก็จะไม่ค่อยมี ส่วนการพักผ่อนที่เพียงพอของเรานั้น หมายถึงควรจะนอนกันอย่างน้อยก็ 7 ชั่วโมง แต่ตัวเลขนี้ก็อาจเปลี่ยนไปตามอายุได้ค่ะ เช่น เด็กก็น่าจะนอนมากกว่านี้ค่ะ

นิสัยดีข้อที่สี่ เข้าสังคมบ้าง

เราสามารถเข้าสังคมได้หลายวิธีค่ะ เช่น ไปทำงานเป็นอาสาสมัคร ไปวัด ร่วมกิจกรรามในชมรมอะไรสักอย่าง หรือทำอะไรก็ได้ที่ต้องเกี่ยวข้องและพบปะผู้คน การพบปะสังสรรค์นอกจะทำให้เราเป็นผู้มีสุขภาพจิตดีแล้ว ยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ (ออกจากกะลา) บางทีอาจได้รับความคิดดีๆ คำปรึกษาจากคนอื่นๆ ด้วยก็ได้ค่ะ

นิสัยดีข้อที่ห้า ออกกำลังกาย

ข้อนี้คงไม่ต้องพูดกันมากเลยนะคะ การออกกำลังกายนั้นเป็นผลดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว เป็นสิ่งดีๆ ที่ควรทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย เพราะการออกกำลังกายจะทำให้เรากระฉับกระเฉง และช่วยเราหลายอย่าง เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก ทำให้กระดูกและข้อต่อต่างๆ แข็งแรง ลดโอกาสการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ทำให้สุขภาพจิตดี แถมยังมีแนวโน้มว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิดอีกด้วยนะคะ

นิสัยดีข้อที่หก รักษาสุขภาพปากและฟัน

ข้อมูลของฝรั่งบอกว่า หากเราทำความสะอาดฟันด้วยไหมขัดฟันทุกวัน จะทำให้เราอายุยื่นขึ้นอีก 6.4 ปีแน่ะ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ก็คือ ในช่องปากของเรานั้นมีเส้นเลือด และเส้นเลือดเหล่านั้นก็มาจากหัวใจ ตอนนี้นักวิจัยเชื่อว่า แบคทีเรียที่อยู่ในปาก สามารถเล็ดลอดเข้าไปในกระแสเลือด แล้วไปทำให้เกิดโรคหัวใจได้ค่ะ นอกจานี้ยังพบว่าแบคทีเรียในปากยังไปมีเอี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน การคลอดก่อนกำหนด และการที่เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติด้วยค่ะ ล้ำลึกจริงๆ เลยนะคะ แต่ถึงจะไม่เกี่ยวกัน เราก็ควรรักษาปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะมันเป็นเรื่องของความงามและบุคลิกภาพด้วยนั่นเองค่ะ

นิสัยดีข้อที่เจ็ด ทำงานอดิเรก

งานอดิเรกก็คือกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานประจำนะคะ งานอดิเรกจะทำให้เราได้ผ่อนคลายและเพลิดเพลิน บางคนอาจจะชอบทำงานฝีมือ ดูนกเล่นกีฬา ไปเดินตลาดนัดอย่างสวนจตุจักร ก็แล้วแต่ความชอบค่ะ และความเพลิดเพลินนี้จะทำให้เรามีความสุข สุขภาพแข็งแรง ถ้าป่วยอยู่ก็จะฟื้นไข้อย่างรวดเร็ว และอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญก็คือ การทำกิจกรรมในงานอดิเรกจะช่วยเผาผลาญแคลอรีให้เราด้วย ดีกว่านั่งจุ้มปุ๊กอยู่หน้าทีวีเป็นไหนๆ ค่ะ

นิสัยดีข้อที่แปด ดูแลปกป้องผิวพรรณ

ผิวพรรณของเรานั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาแก่ตัวตั้งแต่เราเกิดแล้วละค่ะ และวิธีที่จะปกป้องผิวพรรณของเราก็คือ พยายามไม่ออกไปตากแดดแรงจัด เนื่องจากแสงแดดนั้นมีรังสียูวีที่ทำให้ผิวเหี่ยวย่นแห้งและเกิดริ้วรอย หากตากแดดนานๆ ผิวก็อาจไหม้ บวมแดง และถ้ารุนแรงมากก็อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ฝรั่งผิวขาวมากๆ เขาก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ออกแดดเลย หรือถ้าต้องการออกแดดก็จะต้องป้องกันอย่างดีเชียวค่ะ แต่ส้มโอมือว่าออกไปตากแดดเพื่อให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีบ้างก็ดีนะกระดูกจะได้แข็งแรง แต่ก็ควรเลือกช่วงวลาที่แดดไม่จัด เช่นก่อน 10 โมงเช้า หรือหลังบ่ายสามโมงเย็นไปแล้วค่ะ

นิสัยดีข้อที่เก้า เลือกกินขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ

ของขบเคี้ยวที่แนะนำนั้น เน้นที่ผักผลไม้เป็นหลักค่ะ เพราะผักผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ชะลอความชรา เพิ่มความจำ ดีต่อหัวใจและเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ถ้าคุณชอบกินขนม ก็ขอให้พยายามลดขนมลงแล้วหันมาหาผลไม้แทน และช่วงเวลาที่เหมาะที่จะกินผลไม้มากที่สุดก็คือ ระหว่างมื้ออาหาร ตอนที่รู้สึกหิวค่ะ

นิสัยดีข้อที่สิบ ดื่มน้ำ ดื่มนม

ร่างกายของคนเราแต่ละคนต้องกาน้ำไม่เท่ากันนะคะ น้ำมีบทบาทสำคัญในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น หล่อลื่นข้อต่อ เป็นองค์ประกอบเพื่อให้อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต และตับ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ส่วนการดื่มนมนั้นจะทำให้ร่างกายของเราได้รับแคลเซียม ซึ่งจำเป็นต่อกระดูกและฟัน และถ้าหากคุณๆ กังวลเรื่องไขมัน ก็ขอให้หันมาดื่มนมไขมันต่ำแทนก็แล้วกัน

นิสัยดีข้อที่สิบเอ็ด ดื่มชา

คุณผู้อ่านที่ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับสุขภาพ ก็คงจะทราบแล้วว่า สรรพคุณของน้ำชานั้นมีไม่น้อยเลย เป็นต้นว่า ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันฟันผุ มะเร็ง และโรคหัวใจ โดยเฉพาะในน้ำชามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ และถ้าคุณผู้อ่านเบื่อรสชาติเดิมๆ ของน้ำชาก็อาจผสมชากับน้ำผลไม้ก็ได้นะคะ

นิสัยดีข้อที่สิบสอง เดินเป็นนิตย์

การเดินเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่งที่เราสามารถผสมผสานเข้าไปในชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น ใช้บันไดแทนลิฟต์ เดินไปเดินมาระหว่างคุยโทรศัพท์ แปรงฟัน เป็นต้น จำไว้ให้ขึ้นใจเลยนะคะว่า ทุกๆ 20 ก้าวที่เราเดิน เราเผาพลังงานไป 1 แคลลอรีค่ะ

นิสัยดีข้อที่สิบสาม วางแผน สิ่งดีๆ จะไม่อุบัติขึ้นเฉยๆ นะค่ะ

ทุกอย่างต้องผ่านการวางแผนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เพื่อให้คุณมีสุขภาพดี มีผิวพรรณดี ได้ออกกำลังกาย ได้เข้าสังคม เพลินกับงานอดิเรกทุกอย่าง ล้วนมาจากการวางแผนทั้งนั้นเลยค่ะ เพราะฉะนั้น ข้อนี้สำคัญมากนะคะ อย่าลืม

ครบหมดทั้ง 13 ข้อแล้ว และอย่างที่ส้มโอมือบอกไว้ในตอนที่แล้วนั่นแหละค่ะ การฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยใหม่ๆ นั้น ต้องอาศัยเวลา ต้องตั้งใจจริง และต้องเสมอต้นเสมอปลาย นิสัยดีๆ ทั้งหมดจึงจะมาอยู่กับเราพยายามด้วยกันนะคะ เส้นทางสร้างนิสัยดี ที่ส้มโอมือกำลังพยายามอยู่นี้ จะได้ไม่เหงาจนเกินไป"

การฝึกหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

การฝึกหายใจเพื่อการผ่อนคลาย: "ทุกวันนี้แม้ว่าผู้คนจะตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งในเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกาย หากแต่ด้วยวิถีชีวิตประจำวันที่รีบเร่งและเพียบพร้อมด่วยเครื่องอำนวยความสะดวกสบาย ทำให้หลายๆ คนแทบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเท่าใดนัก ฉะนั้น หลังจากการทำงานหนัก ร่างกายของคุณควรได้รับการบำบัดให้คลายความเมื่อยล้าเพื่อช่วยปรับกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และกระดูกข้อต่างๆ ให้เข้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ทั้งยังลดความปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี
ลองฝึกการหายใจเพื่อการผ่อนคลายง่ายๆ ด้วยท่าง่ายๆ ต่อไปนี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาเพียง 10 - 15 นาที ก่อนการทำสมาธิในช่วงเช้าตรู่หรือก่อนนอนเพื่อผ่อนคลายกายและใจ และยังได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีกด้วย

เริ่มด้วยการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ และเป็นจังหวะช้าๆ โดยใช้วิธีการหายใจในแบบของโยคะ นั้นคือ การหายใจเข้า - ท้องพองประมาณ 4 วินาที และหายใจออก - ท้องยุบลงอีกประมาณ 8 วินาที หากฝึกได้เช่นนี้แล้วเราจะได้ 'พลังสงบภายใน' ที่นิยมเรียกกันว่าสมาธินี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่ก่อให้เกิดความสงบเยือกเย็นจากภายใน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่งท นอน หรือการเคลื่อนไหวอื่นใด ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เราอาจฝึกสมาธิทุกคืนก่อนเข้านอนก็ได้ โดยให้เพ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเพ่งที่ร่างกาย เพ่งที่ธรรมชาติ เพ่งที่ลมหายใจ หรือการนับการย่างก้าว โดยให้เน้นที่ลมหายใจเข้า หายใจออก และปล่อยวาง มันจะทำให้กายและจิตเกิดดุลยภาพ รู้สึกสดชื่นและมีความสุข การหายใจแบบนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อการที่เราหายใจเร็วเกินไปจะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดขึ้นได้
ต่อไปเป็น ท่ากักลมหายใจ เริ่มจากนั่งขัดสมาธิในท่าตรงหรี่เปลือกตาลงเบาๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ให้เต็มปอดแล้วกักลมหายใจไว้นับ 1-6 ในใจ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกแผ่วๆ เบาๆ แล้วหยุด กลืนน้ำลายลงคอเบาๆ ก่อนแล้วค่อยๆ สูดลมหายใจเข้ากักลมหายใจอีกครั้ง ผ่อนลมหายใจเบาๆ ทำซ้ำอีกสัก 5 ครั้ง และเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อยๆ ในทุกครั้งที่ฝึกการหายใจเช่นนี้ ไม่เพียงแค่ผ่อนคลายเท่านั้นแต่ยังเอื้อผลต่อดีสุขภาพ เพราะลมที่กักไว้จะทำให้หัวใจเราเต้นแรง หลอดเลือดจะขยายโลหิตจะไหลเวียนได้มากยิ่งขึ้น ใครที่เป็นโรคเส้นโลหิตอุดตัน หรือเป็นโรคความดัน การฝึกการกักลมหายใจจะช่วยรักษาอาการได้

หากเราฝึกปฏิบัติการหายใจเพื่อการผ่อนคลายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลาย ร่างกายยืดหยุ่นไม่เกร็ง และยังทำให้ร่างกายสามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ขอเพียงแต่เติมความมุ่งมั่นตั้งใจลงไป แล้วคุณจะพบกับหนทางใหม่ที่แสนง่ายดายในการนำสุขภาพดีมาสู่ตัวคุณเอง"

ผมป่วยทางใจ! ใครช่วยได้บ้าง

ผมป่วยทางใจ! ใครช่วยได้บ้าง: "ผมป่วยทางใจ! ใครช่วยได้บ้าง

ท่านผู้อ่านครับ ผมในฐานะที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยทางใจหรือผู้ป่วยจิตเวชอยู่ตลอดมา มักจะถูกถามจากผู้ป่วยเสมอว่า เขาเป็นโรคอะไรแน่ ที่ใครๆ เขาว่าป่วยทางจิตนั้น เป็นโรคจิตหรือไม่ อยากรู้จริงๆ

ผมขอตอบได้เลยว่า บุคคลที่ถามเช่นนี้มักจะรู้ว่าตนเองป่วย และถูกผู้อื่นมองว่าเป็นโรคจิต ถึงแม้บางครั้งไม่มีใครพูดออกมา แต่ตัวเองกลัวไปเสียเอง บางรายไปอ่านหนังสือแล้วพบว่ามีอาการตรงกันกับของผู้เป็นโรคจิตชนิดใดชนิดหนึ่งในหนังสือนั้น

เมื่อผมค่อยๆ อธิบายว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ป่วยตามที่คิดหรอก เพียงแต่มีจิตใจอ่อนแอลงเท่านั้น หากได้รับการช่วยเหลือรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย พยายามปฎิบัติตามคำแนะนำ ผมบอกได้เลยว่า อาการจะดีขึ้นแน่ๆ โอกาสจะเป็นโรคจิตไม่มีเลยครับ นอกจากนั้นมีอยู่บ่อยๆ ที่ผู้ป่วยกลับสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้นกว่าเดิมเสียอีกจนทำให้กลายเป็นคนเข้มแข็งอดทน คิดอย่างมีเหตุผล และมองผู้อื่นในแง่ดี ท่านผู้อ่านอาจเป็นหนึ่งในนั้นก็ได้นะครับ ขอให้สบายใจได้

เมื่อผู้ป่วยเข้าใจตามที่ผมอธิบายแล้วจะเริ่มยิ้มได้ บางรายก็ถอนหายใจก่อน แล้วพูดว่าดีใจที่ได้รู้เช่นนี้ หวังว่าหมอไม่ได้หลอก หรือพูดเพียงให้สบายใจเท่านั้น ถ้าหมอยืนยันคงทำให้เขาเป็นสุขมากเมื่อกลับบ้าน ผู้ป่วยมักยิ้มได้หลังจากคุยกันได้ครึ่งชั่วโมงแล้ว

ท่านจะเห็นได้นะครับว่า ผู้ป่วยสบายใจขึ้นแล้ว เพียงได้พบพูดคุยกันเป็นครั้งแรกเท่านั้น เนื่องจากได้รับรู้ข้อเท็จจริง และได้รับคำยืนยันจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ด้านนี้ ด้วยทีท่าที่เป็นมิตร เยือกเย็น ยิ้มแย้มเป็นกันเองและจริงใจ ในบรรยากาศสบายๆ พูดกันอย่างมนุษย์ที่มีคุณค่าพึงกระทำต่อกัน ผู้ป่วยยอมรับได้ และเชื่อว่าผมพูดความจริงด้วย เมื่อสบายใจขึ้น และรู้สึกว่าจิตแพทย์จะเป็นผู้ช่วยเหลือได้ ความกลัวเรื่องความเจ็บป่วยก็น้อยลง ยินดีที่จะมาพบกันอีก พร้อมจะปฎิบัติตนตามคำแนะนำ ผมคงจะให้คำตอบหนึ่งข้อแล้วนะครับว่า ป่วยทางใจใครช่วยได้บ้าง

ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีบุคคลอีกหลายท่าน และมีอีกหลายวิธี ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ครับ

ท่านผู้อ่านครับ ต้นเหตุของการแปรปรวนทางจิตใจที่พบบ่อยที่สุดคือ ความอ่อนแอทางจิตใจโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เมื่อยังเป็นเด็ก เป็นคนไม่หนักแน่นมั่นคง อาจเจ้าอารมณ์มองตนเองเป็นใหญ่และถูกต้องอยู่ตลอดเวลา

เมื่อศึกษาชีวิตของผู้ป่วยรายนี้จะพบว่า ครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้อง เป็นต้นเหตุที่ทำให้รู้สึกขาดรัก ขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นใจ ต้องการอยากได้รับความรัก การยอมรับจากครอบครัว อย่างไม่มีวันสิ้นสุด หากไม่ได้รับแต่เริ่มแรกของชีวิตแล้ว ความรู้สึก ความต้องการ จะยังแน่นจนกลายเป็นนิสัยประจำตัว มีพฤติกรรมไม่ดีขยายออกไปสู่สังคมภายนอก ซึ่งแน่นอนพฤติกรรมของเขามีมีใครยอมรับได้ จึงเกิดความเครียด คิดมาก มองตนเองมีปมด้อย หรือมองผู้อื่นในแง่ร้าย

จะเห็นว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง จะเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันรักษาจิตใจของผู้ป่วยได้

เท่าที่ผมพบมา ปรากฎว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่ยอมรับว่าเป้นความผิดของตน กลับชอบตำหนิว่ากล่าวผู้ป่วยมากขึ้นด้วยซ้ำไป ทำให้ผู้ป่วยยิ่งมีจิตใจอ่อนแอลงตามลำดับ เมื่อโตขึ้นก็มองสังคมนอกบ้าน เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ ในแง่ร้ายเพิ่มไปด้วย

ผลก็คือจิตเขาเหมือนลูกโป่งแตกออกดังโพล๊ะ เนื่องจากมีลมอัดเพิ่มเข้าไปตลอดเวลา ลมที่เข้าไปในลูกโป่งเสมือนความกดดันทางจิตใจครับ ต้องระเบิดออกมา นั่นคืออาการแสดงออกของความผิดปกติทางจิตใจในหลายรูปแบบ

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นได้ทั้งต้นเหตุ และเป็นตัวช่วยเหลือผู้ป่วยได้ด้วย การไม่มีมลพิษของอากาศ อาหาร และน้ำดื่ม ความพอใจในงานที่ทำ เจ้านายและผู้ร่วมงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะทำให้มีชีวิตอยู่อย่างสุขกายสบายใจ เมื่อมองสิ่งต่างๆ ล้อมรอบในด้านดีก็อยากทำดีกลับสู่สังคมบ้าง

ท่านผู้อ่านครับ สิ่งแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยที่สร้างหรือทำลายความสุขได้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเลยครับ

ท่านจะต้องดูแลสุขภาพกายของตนเองให้ดีด้วย มีอะไรผิดปกติไม่ควรทิ้งไว้นาน ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาเสียแต่เริ่มแรกไม่ปล่อยให้รุนแรงเรื้อรัง จะมีส่วนช่วยป้องกันและรักษาจิตใจได้ครับ แม้จะมีคำพังเพยที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ก็จริง แต่ถ้าบ่าวไม่ดี นายก็แย่เหมือนกันครับ

ฉะนั้นสรุปแล้วท่านจะเห็นว่า พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ญาติพี่น้อง สิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลสุขภาพกายและใจตนเอง สามารถช่วยเหลือเมื่อป่วยทางใจได้

สำหรับวิธีการรักษาด้วยการพูดคุย ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า จิตบำบัด ดังที่ผมได้เรียนท่านแล้วนั้น จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง เกิดความมั่นใจในความเจ็บป่วย การมาพบมาพูดคุยกับผู้รักษาตามนัด แล้วนำไปปฎิบัติ จะเป็นการรักษาที่ได้ผลเร็ว จนอาจมีต้องใช้ยากินเลยก็เป็นได้

ในระยะหลังมานี้ ยาทางจิตเวชสมัยใหม่ช่วยทำให้จิตใจที่แปรปรวนดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการพัฒนายาเช่นเดยวกับยารักษาทางกาย แต่ราคายังแพงอยู่ คำว่า “30 บาทรักษาได้ทุกโรค” หมายความรวมถึงโรคทางจิตใจด้วยครับ ดังนั้นผู้ป่วยและครอบครัวที่ยากจน ก็สามารถรับการรักษาเช่นเดียวกับคนรวยได้ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำนี้ แต่อย่ากลัวไปเลยนะครับ อย่ามองประเทศไทยในแง่ร้ายนัก วันหนึ่งในไม่ช้าสถานะการทางเศรษฐกิจของประเทศเราจะดีขึ้น

ยังมีการรักษาอีกหลายวิธีที่ใช้กับผู้ป่วยทางจิตใจ เช่นที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อม-สังคมบำบัด พฤติกรรมบำบัด การรักษาด้วยไฟฟ้าสำหรับรายที่ป่วยรุนแรงที่อาจเกิดความไม่ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น การรักษาวิธีหลังนี้เห็นผลดีทันตา มีการพัฒนาเครื่องมือและวิธีการที่ใช้อยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอีกหลายวิธีครับ ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากผู้รักษาโดยตรง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของท่าน

ผมหวังว่าท่านจะสามารถนำเอาความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวท่านเองและบุคคลที่ท่านรักได้นะค

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 92"

วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ

ที่มา - วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ: "วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ

การทำสมาธิก็เพื่อให้จิตใจสงบนี้คือเป้าหมายหลัก จิตที่นิ่งสงบดีแล้ว จะตั้งตรง ไม่เอนเอียง มีพลังขึ้นมาเอง มีประโยชน์มหาศาล เหมาะที่จะนำไปใช้ทำกิจต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ความสงบทำให้ใจสบาย โล่งเบา อยู่เหนือทุกข์ เป็นอิสระ จิตที่คุ้นเคยกับความสงบจึงคลายทุกข์ได้เองโดยอัตโนมัติ (ไม่ต้อง ใช้เงิน) ใจที่สงบเย็นมีความมั่นคงแข็งแกร่ง แจ่มใสเบิกบาน มีความจำดี ทำงานเต็มประสิทธิภาพ เรียนหนังสือดีเหมือนมีอุึปกรณ์การศึกษาที่ทรงพลังอยู่กับตัว ผู้ทำสมาธิอยู่เป็นประจำจะนอนหลับสบาย สุขภาพดี นอกจากนี้ยังรักษาโรคได้หลายอย่าง โดยสรุปการทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นมหากุศลได้บุญมากเพราะจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วสามารถยกระดับเจริญปัญญาต่อไปได้อีก

สมาธิ ทำได้หลายวิธี แต่ที่น่าจะสะดวกกับทุกคนคือวิธีกำหนดลมหายใจ คำพระเรียก อาณาปาณสติ แปลตามตัวว่า มีสติตามดูลมหายใจ เพราะทุกคนต้องหายใจอยู่แล้วตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงใช้ลมหายใจเพราะว่าสะดวกที่สุด เป็นอุปการณ์ที่หาง่าย ใช้สะดวก และสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอริยาบท ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน (ไม่หลับ) กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ

แต่ท่าที่ครูบาอาจารย์มักแนะนำคือท่านั่ง เนื่องจากมีพุทธดำรัสสืบต่อกันมาว่า "ให้ตั้งกายตรง ดำรงสติ ขาขวาทับขาซ้าย" มีพระบาลีกำกับด้วย ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในตอนเช้า ชาวพุทธเราจึงถือว่า การนั่งสมาธิในตอนเช้ามืดนั่น มีนัยมากกว่าการนั่งสมาธิเฉยๆ แต่จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจมากขึ้นด้วย และเป็นการทำพุทธานุสสติไปด้วย

ให้นั่งขัดสมาธิอย่างพระพุทธรูป เท้าขวาทับซ้าย มือขวาทับซ้าย ตัวตรง หน้าตรง มีสติสัมปชัญญะ ให้หลับตาตามสบาย ไม่เกร็ง ไม่พยายามบีบตา จากนั้นให้ส่งจิตไปอยู่ที่ปลายจมูก ตามรู้ลมหายใจที่ไหลเข้า-ออก ลมหายใจออกก็รู้ ลมหายใจเข้าก็รู้ ให้รู้เฉยๆ ไม่ต้องปรับแต่งลมให้สั้น หรือยาว ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หน้าที่ของเราคือ "รู้เท่านั้น" ให้จิตรู้เฉยๆ ทำไปราว ๕ ถึง ๑๐ นาทีจึงออกจากสมาธิ ผู้ที่มีทักษะแล้วอาจเพิ่มเวลาเป็น ๑๕, ๓๐, หรือ ๖๐ นาทีก็สามารถทำได้ตามสภาพชีวิตของตน

เมื่อจิตเริ่มสงบลง ผู้ปฏิบัติอาจจะรู้สึกว่า ตัวเบา ขนลุกชัน ตัวโคลงเคลง หรือน้ำตาไหล หรือตัวพองกว่าปกติ หรือลมหายใจหายไป หรือกายหายไป อย่าสนใจ ให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจเท่านั้น.

การฝึกทำสมาธิแบบง่าย ๆ ประจำวัน และวิธีการทำบุญ

การฝึกทำสมาธิแบบง่าย ๆ ประจำวัน และวิธีการทำบุญ: "วิธีนั่งทำสมาธิ
ผู้บำเพ็ญสมาธิพึงนั่งขัดสมาธิราบ คือ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือหงายไว้บนหน้าตัก ตั้งตัวตรงมองทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ 2 ศอก แล้วหลับตา มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ กำหนดลมหายใจเข้า – ออก พร้อมกับระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ขณะหายใจเข้า ให้กำหนดว่า “พุท” ขณะหายใจออก ให้กำหนดว่า “โธ” กำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับกำหนดพระพุทธคุณควบคู่กันไปอย่างนี้ตลอดการนั่ง ในระยะเริ่มแรกของการฝึกนั่งสมาธินั้น ผู้ที่เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ควรนั่งบำเพ็ญสมาธิด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 10 – 15 นาทีต่อครั้งก่อน เมื่อภายหลังร่างกายเกิดความเคยชินต่อการนั่งแล้ว พึงเพิ่มเวลาให้มากขึ้นโดยลำดับ (กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล) สำหรับเวลาที่เหมาะสมกับการฝึกสมาธิที่สุดนั้น ได้แก่ เวลากลางคืน ก่อนนอน ซึ่งเป็นเวลาที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญสมาธิ หลังจากนั่งบำเพ็ญสมาธิแล้วก่อนที่จะเลิกนั่งสมาธิ ควรกราบพระรัตนตรัยอีก 3 ครั้งก่อน แล้วจึงจะเลิก ให้ทุกท่านปฏิบัติเช่นนี้ไปตลอด จักเป็นการดีสำหรับการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ"

ทำนองธรรม บทความ - ธรรมะท่านว.วชิรเมธี

ทำนองธรรม บทความ: "๑
มนุษย์์เกิดมาในโลกอย่างมีความหมาย
ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่าหรือเกิดมาเพื่อจะถูกลืม
ยกเว้นคนที่พยายามจะทำให้คนอื่นลืมตนเอง
ไม้ทุกต้น หญ้าทุกชนิด
ก็เช่นเดียวกับน็อตทุกตัว
ที่ถูกผลิตมาเพื่อเหมาะสมกับภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ


คนที่เข้าใจโลก
ถึงขั้นจะมองเห็นอะไรๆ ที่คนอื่นเขาเครียดกันเป็นเรื่องขำขันได้
จะมีอายุยืน
อยู่ในโลก แต่ไม่หลงโลก
อยู่ในโลกเพื่อเหยียบโลกเล่น ไม่ใช่แบกโลกไว้บนบ่า
คนอย่างนี้หายาก
แต่มีอยู่ที่ไหน คนอยู่ใกล้ก็มีความสุข


มีความจริงทั้งสองด้านรวมอยู่ในตัวมันเองเสมอ
ต่างแต่ว่าเราจะเลือกหยิบด้านใดขึ้นมาประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้น


คนที่คิดทางบวกเป็นคนที่โชคดีและได้กำไรเสมอ
ส่วนคนที่คิดในทางลบ
แม้เรื่องดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ก็ยังไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์กับตน
วิธีคิดบ่งบอกอนาคต กำหนดชะตากรรม
เราคิดอย่างไรก็จะกลายเป็นคนอย่างนั้น
คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก คิดลบ ชีวิตก็ติดลบ


ที่ใดมีปัญหา ที่นั่นย่อมมีทางออก
ปัญหาและทางออกจึงเป็นเสมือนสองด้าน
ของเหรียญกษาปณ์อันเดียวกัน
เพียงมีสติรู้จักพลิกปัญหา
ก็จะพบว่ามีภูมิปัญญาอันเลิศล้ำ
รอให้ค้นพบอยู่อย่างท้าทาย


หากแอปเปิ้ลที่อยู่ในมือมันช้ำเพียงบางส่วน
แทนที่เธอจะโยนทิ้งไปทั้งหมด
เธอก็ควรจะเลือกเฉือนเอาด้านที่ช้ำนั้นออกเสีย
แล้วเลือกรับประทานส่วนที่ดี
เพียงแค่นี้เธอก็ได้ลิ้มโอชารสอันหอมหวาน มัน กรอบ อร่อย
ของแอปเปิ้ลลูกที่อยู่ในมือของเธอแล้ว


ความสุขหรือความทุกข์
บางครั้งอยู่ที่ 'ท่าที' ในการเผชิญของเราเป็นสำคัญ
ถ้า 'รู้เท่าทัน' สิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างมีสติ
ทุกข์อาจกลายเป็นสุข
ปัญหาอาจกลายเป็นปัญญา
วิกฤติอาจถูกแปรเป็นโอกาส


ชื่อเสียงที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นจากความดีงามอันบริสุทธิ์
แม้ใครจะพยายามลบล้างให้มัวหมอง
แต่เมื่อมรสุมแห่งความเท็จผ่านพ้นไป
ก็จะกลับแวววาวพราวพรายขึ้นมาได้อีกเสมอ


หากป่วยกายอยู่แล้ว
อย่าให้ใจต้องมาป่วยซ้ำลงไปอีก
ถ้าป่วยกาย แต่ใจไม่ป่วย โอกาสหายป่วยย่อมมีมาก
แต่ถ้าป่วยกายด้วย ป่วยใจด้วย
บางทีโรคกายไม่ร้ายแรง
แต่ก็อาจทุกข์ทรมานเพราะโรคใจคอยแทรกซ้อน

๑๐
ขออย่าได้ท้อถอยในการที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่
คนเรายามที่เป็นปุถุชนก็มีโอกาสผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น
แต่คนโง่จะปล่อยให้ผิดพลาดแล้วผิดพลาดเลย
ส่วนคนที่มีปัญญาเมื่อรู้ว่าผิดพลาดไปแล้ว
จะรีบถอนตนออกมาอย่างทันท่วงที
แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มี่ซ้ำรอยเดิม

๑๑
น้ำเน่าอาจระเหยกลายเป็นเม็ดฝนหล่อเลี้ยงผืนโลก
กรวดทรายต่ำต้อยอาจถูกหล่อหลอมเป็นศิลป์สถาปัตย์
ทรงคุณค่าระดับสากล
ข้าวเปลือกในนาอาจกลายเป็นกระยาหารของพระมหาจักรพรรดิ
ลูกกุลีอาจกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน ฯลฯ

ขอเพียงมนุษย์ไม่ดูถูกตัวเอง
ตระหนักรู้ถึงศักยภาพพิเศษที่ซุกซ่อนอยู่ในตน
แล้วเพียรเจียระไนชีวิตให้แวววาวพราวพรายด้วยการศึกษาเรียนรู้
ซึมซับเก็บรับบทเรียนจากการงานและการใช้ชีวิตอย่างสุขุม
ก็ย่อมจะมีชีวิตที่คุ้มค่า สงบ ร่มเย็น
และเป็นสุขได้โดยไม่ยากเย็น

๑๒
มือของผู้ให้ อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ
ชื่อของผู้ให้ น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ
เกียรติของผู้ให้
กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย
ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบและปวงวีรบุรุษ

๑๓
การให้
แค่เพียงคิดจะทำ ใจก็ยังเป็นสุข
ครั้นได้ให้แล้ว จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน
เมื่อวันเวลาผ่านไป
หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ
ความปีติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม

๑๔
การให้
จึงเป็นความสุขแท้ทั้งเวลาก่อนให้
ขณะที่ให้
และหลังจากได้ให้ไปแล้ว

๑๕
การเสียสละ แบ่งปัน
เป็นทั้งความ 'สมาน'
คือ ความสามัคคีปรองดองระหว่างกันและกัน
และเป็นกุศโลบายในการสร้างความ 'เสมอ'
คือ ให้คนทุกคนมองเห็นหัวอกของคนอื่น

เมื่อมนุษย์รู้จักแบ่งปันแก่กันและกัน
อันมีพื้นฐานมาจากการมีอัชฌาศัยกว้างขวางเอื้ออารีเช่นนี้
ศานติภาพท่ามกลางความแตกต่าง ก็จะเกิดมีได้อย่างไม่ยากเย็นนัก"

:: ลานธรรมจักร :: :: อ่าน - ป่วยแต่ไม่ทุกข์ (ก็ยังได้) - (พระไพศาล วิสาโล)

:: ลานธรรมจักร :: :: อ่าน - ป่วยแต่ไม่ทุกข์ (ก็ยังได้) - (พระไพศาล วิสาโล): "ป่วยแต่ไม่ทุกข์ (ก็ยังได้)
โดย พระไพศาล วิสาโล


'ใจ เป็นนาย กายเป็นบ่าว' ภาษิตบทนี้คนไทยแต่ก่อนคุ้นเคยกันดี แต่คนสมัยนี้ชักจะลืมแล้ว ยิ่งกว่านั้นบางคนถึงกับค้านว่า ถ้าถูกตีหัว แล้วทำใจไม่ให้เจ็บจะได้ไหม

ถ้าตอบลอยๆ ว่า 'ได้' ก็ดูจะง่ายเกินไป คงไม่ค่อยมีใครเชื่อเท่าไร แต่ข่าวคราวเมื่อเร็วๆ นี้เป็นหลักฐานยืนยันว่า ความเจ็บนั้นอยู่ที่ใจเป็นสำคัญ ถ้าใจไม่สนใจความเจ็บ แผลที่กายก็ทำอะไรไม่ได้หรือทำได้น้อยมาก

ข่าวคราวที่ว่าไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับการทิ่มแทงตัวเองในประเพณีกินเจที่ภูเก็ต แต่เป็นเรื่องการทดลองรักษาผู้บาดเจ็บเพราะไฟไหม้ในต่างประเทศ เป็นที่รู้กันดีว่า ความน่ากลัวประการหนึ่งของแผลไฟไหม้ก็คือ ความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยมาก ทุกวันนี้ปัญหานี้ยังแก้ไม่ตก แม้จะผลิตยาระงับปวดมาหลายขนานแล้วก็ตาม ก็ไม่สามารถบรรเทาปวดได้อย่างชะงัด

แต่ไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งลองใช้วิธีใหม่ แทนที่จะคิดค้นตัวยาที่ควบคุมแทรกแซงระบบประสาท หรือการส่งข้อมูลความเจ็บปวดไปที่สมอง เขาหันมาทำงานกับจิตของผู้ป่วย โดยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยไปยังภาพที่ทำให้รู้สึกเย็นสบายและเพลิดเพลิน วิธีการก็คือให้ผู้ป่วยใส่แว่นคอมพิวเตอร์ แว่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพเหมือนจริงจากจอคอมพิวเตอร์ราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ ภาพเหมือนจริงที่ว่าก็คือภาพภูเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะ ใช่แต่เท่านั้น ภาพนั้นยังเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับการควบคุมคันบังคับในมือของผู้ป่วย แว่นนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกราวกับกำลังเล่นสกีหิมะ อยู่ในบรรยากาศที่เย็นเฉียบ

ผลที่เกิดขึ้นก็คือความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ลดลงไปมาก ยิ่งกว่านั้นแผลยังหายเร็วกว่าปกติ กรณีนี้น่าสนใจก็เพราะว่า สมองของผู้ป่วยยังรับรู้ความเจ็บปวดอยู่ เพราะระบบประสาทยังถ่ายทอดความเจ็บปวดเหมือนเดิม แต่ตัวผู้ป่วยกลับรู้สึกเจ็บปวดน้อยมาก นั่นเป็นเพราะใจของผู้ป่วยไปสนใจกับสิ่งที่น่าเพลิดเพลิน พูดง่าย ๆ คือ ใจไม่มีที่ว่างให้ความเจ็บปวดแทรกเข้ามาได้ จะเรียกว่าจิต 'วาง' ความเจ็บปวดเอาไว้ชั่วคราวก็ได้

การระงับปวดด้วยการแก้ที่ใจ แทนที่จะไปจัดการกับระบบประสาท (หรือมิติทางกายภาพ) เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับการแพทย์แผนใหม่ แม้วิธีระงับปวดด้วยแว่นคอมพิวเตอร์จะแพงและไม่สามารถเอาไปใช้ให้แพร่หลายได้ แต่มันก็มีคุณค่าอย่างมากตรงที่ชี้ว่า สุขภาวะกับจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ความเกี่ยวโยงนั้นไม่ได้อยู่ตรงที่จิตใจอาจเป็นสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยเท่านั้น แม้แต่ความทุกข์จากความเจ็บป่วยก็ยังขึ้นอยู่กับจิตใจด้วย นั่นหมายความว่าถึงจะป่วย (กาย) แต่ไม่ทุกข์ (ใจ) ก็ได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้ป่วยมะเร็งเป็นอันมาก มีความสุขมากกว่าคนปกติเสียอีก

ทุกวันนี้มีความเจ็บป่วยมากมายหลายชนิดที่ยังรักษาให้หายไม่ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะ 'จนตรอก' ยังมีบางสิ่งที่แพทย์ทำได้บางสิ่งที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงการยืดลมหายใจของผู้ป่วยท่ามกลางความทุกข์ทรมาน ที่สำคัญกว่านั้นก็คือช่วยให้เขาไม่ทุกข์ ด้วยการใส่ใจกับจิตใจของเขา หรือสนับสนุนให้เขาสามารถดูแลจิตใจตนเองได้ จนความเจ็บป่วยทางกายทำอะไรเขาไม่ได้.



.............................................................

คัดลอกมาจาก
'สมาคมคนน่ารัก'
http://www.khonnaruk.com/"

ศิลปะแห่งความสุข | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ศิลปะแห่งความสุข | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน: "หนังสือ 'ศิลปะแห่งความสุข' แปลจาก The Art of Happiness หนังสืออันโด่งดังไปทั่วโลกของท่านทะไล ลามะ
และนายแพทย์โฮเวิร์ด ซี คัทเลอร์ ผู้แปลคือ วัชรีวรรณ ชัยวรศิลป์ สำนักพิมพ์อีเทอร์นัล อิงค์ เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายและในพากย์ไทย
พิมพ์เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว ผู้ปรารถนาความสุขควรอ่านหนังสือเล่มนี้โดยทั่วกัน

อนึ่งขอเรียนว่า หนังสือเล่มนี้ได้รับลิขสิทธิ์การแปลและเป็นการแปลจริงๆ ส่วนที่ผมเล่าบนเส้นทางชีวิตจากหนังสือภาษาอังกฤษเล่มเดียวกัน
ที่ใช้หัวเรื่อง 'บนเส้นทางหนังสือ' นั้นเป็นการเล่าจากการอ่าน ไม่ได้แปลทั้งหมด เสริมคำของตนเองบ้าง
และจะไม่รวมพิมพ์เป็นเล่มในชื่อศิลปะแห่งความสุข ให้เป็นการซ้ำซ้อนกับเล่มนี้ แต่คงจะเล่ารวมกับหนังสือเล่มอื่นๆตามหัวเรื่อง 'บนเส้นทางหนังสือ'

มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข แต่เราไม่ได้เรียนวิชาความสุขมีแต่วิชาอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากอย่างหนึ่ง
แม้นเรามีความทุกข์เป็นธรรมดาก็จริง แต่เราสามารถฝึกตัวเองให้มีความสุข ทุกคนควรจะได้ฝึกตนเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญสร้างความสุข
และเป็นครูสอนให้คนอื่นสร้างความสุขเป็น เราต้องทำมาหากินเป็นธรรมดา เพื่อยังชีพ แต่ชีพยังต้องการความสุขที่แท้จริงอันไม่ใช้เงินด้วย

ในโอกาสขึ้นปีใหม่นี้ ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านพบศิลปะแห่งความสุขและช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบศิลปะแห่งความสุข"

เป็นโรคก็สุขภาพดีได้ | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

เป็นโรคก็สุขภาพดีได้ | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน: "เมื่อก่อนเราเคยเชื่อว่าสุขภาพดีคือการไม่มีโรค การมีโรคคือสุขภาพไม่ดี แต่ระยะหลังเรารู้ว่าคนที่ไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ เช่น ตรวจเท่าไรก็หาโรคไม่เจอ แต่ก็ไม่มีสุขภาวะเลย แต่คนบางคนที่เป็นโรคก็มีสุขภาพดี เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน เมื่อควบคุมให้อยู่ในสภาวะสมดุลก็สุขสบายดีเหมือนคนปกติทั้งๆที่โรคนั้นๆ ก็ยังอยู่

ฉะนั้น คงจะต้องนิยามคำว่าสุขภาพกันใหม่
เมื่อก่อนเอา 'โรค' เป็นตัวตั้ง แล้วก็ปรากฏว่ามันไม่จริงไปเสียทั้งหมด ดังกล่าวข้างต้น

ถ้าเราเอาตัว 'ดุลยภาพ' หรือสภาวะสมดุลเป็นคำอธิบายน่าจะครอบคลุมได้กว้างขวางกว่าและมีประโยชน์เพื่อการปฏิบัติมากกว่า ถ้ามีความสมดุลของ กาย-จิต-สังคม-สิ่งแวดล้อม เราก็สบายดี
ความไม่สบายทุกชนิดเกิดจากการเสียดุลยภาพ

ฉะนั้น เมื่อหาโรคทางกายไม่เจอ แต่จิตเสียดุลเป็นอย่างยิ่ง สุขภาพก็ไม่ดีเลย โดยนัยนี้คนเป็นมะเร็งก็สุขภาพดีได้ ถ้ารักษาดุลยภาพได้ ยิ่งกว่านั้นคนเป็นมะเร็งบางคนมีความสุขยิ่งกว่าคนไม่เป็นเสียอีกก็มี
คนเป็นอัมพาตควรจะมีทุกขภาวะอย่างยิ่ง แต่คนเป็นอัมพาตบางคนก็มีความสุขอย่างยิ่ง ดังตัวอย่างเรื่องในฉบับนี้ คุณเบญจวรรณ อรุณสาธิต เป็นอัมพาตจากอุบัติเหตุรถยนต์ แต่มีความสุขจากการเป็นอาสาสมัครที่วิทยาลัยราชสุดา

การเป็นอาสาสมัครทำให้สุขภาพดี
การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ การทำเรื่องดีๆ การทำเพื่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้สุขภาพดี

คนที่เป็นโรคอะไร อย่าไปท้อใจว่าจะต้องสุขภาพไม่ดี เพราะคนเป็นโรคก็สุขภาพดีได้ ถ้าดูแลรักษาดุลยภาพในร่างกาย และเพิ่มความสุขทางจิตใจจากการทำเรื่องดีๆ จากการทำเพื่อเพื่อนมนุษย์ เราต้องช่วยกันสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศแห่งความดี"

คุณหน่อย : แม้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังก็ยังมีพลังทำงาน | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

คุณหน่อย : แม้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังก็ยังมีพลังทำงาน | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน: "'ฉันและสามี เดินทางไปกราบหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ วัดภูเขาทอง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ท่านมีเมตตามาก ท่านว่า เป็นโรคไตรึ เรื่องไตเรื่องเล็ก ใจซิเรื่องใหญ่...'

นี่คือข้อความตอนหนึ่งในหนังสือชื่อ 'ช่วยหน่อยเปลี่ยนไต : บันทึกเหนือทุกข์เหนือสุข' ซึ่งเป็นบันทึกเรื่องราวการเอาชนะโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ของหญิงแกร่งผู้อุทิศตนเพื่อการอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติ ที่ชื่อว่า 'อาริยา โมราษฎร์' หรือ 'คุณหน่อย'Ž

ผมได้พบคุณหน่อยและคู่ชีวิตร่วมอุดมการณ์ (คุณเข็มทอง โมราษฎร์ หรือคุณจืด) ซึ่งเป็นผู้นำกิจกรรมค่าย 'การเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อเข้าใจคุณค่าของชีวิต' ของนักศึกษาแพทย์ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมาดังที่เคยเล่าไว้ในฉบับที่แล้ว

ก่อนได้พบคุณหน่อยเพียงไม่กี่ชั่วโมง ผมได้รับมอบหนังสือเล่มนี้จาก คุณหมอศิรดา ภูริวัฒนพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อนสนิทของคุณหน่อยเป็นของขวัญปีใหม่

เมื่อได้ของขวัญน่าสนใจยิ่งชิ้นนี้ ผมก็พลิกอ่านดูทันที ได้มองเห็นภาพชีวิตของคุณหน่อย ที่มีจิตใจมุ่งมั่นทำงานเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ มาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนเมื่อจบแล้วก็ทำงานด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับคุณจืด (ผู้จบด้านจิตรกรรม เป็นนักวาดภาพ นักถ่ายภาพ นักเล่าเรื่อง นักจัดกิจกรรมค่าย) จัดตั้งโรงเรียนเด็กรักป่าที่จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งต่อมาได้ขยายเป็น 'ศูนย์ศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า' นำเด็กๆ เดินป่าเรียนรู้ธรรมชาติ ฝึกวาดภาพ บันทึกในสมุดบันทึก ปลูกฝังจิตสำนึกแห่งการรักป่า ต่อมาได้ขยายกลุ่มเป้าหมายให้ทุกกลุ่มวัยและอาชีพที่สนใจในกิจกรรมเดินป่าเรียนรู้ธรรมชาติ รวมทั้งชาวต่างประเทศ (เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์)

อยู่ๆ ในปี พ.ศ.2542 คุณหน่อย (ในวัย 35 ปี) ก็ล้มป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วยแล้ว คุณหน่อยเขียนว่า 'กลางปี 2542 ฉันอยู่ในภาวะหมดหวัง หมดกำลังใจในชีวิตการงาน อนาคตเหมือนกำลังเดินไปสู่วาระสุดท้ายของตนเอง' ช่วงนี้เองที่คุณหน่อยได้เดินทางไปเพิ่มพลังใจด้วยการฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดภูเขาทอง

หลังจากรับการรักษาด้วยการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 2 วันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในปี พ.ศ.2546 สุขภาพของคุณหน่อยก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้เป็นปกติ จนได้รับรางวัลด้านรักษาสิ่งแวดล้อมจากหลายหน่วยงาน

ภาพประทับใจจากการอ่านบันทึกของคุณหน่อย ทำให้รู้สึกชื่นชมยินดีที่ได้พบและพูดคุยกับคุณหน่อยในช่วงต่อมา คุณหน่อยดูแข็งแรงคล่องแคล่ว ยิ้มง่าย อารมณ์ดี เธอเล่าให้ฟังว่าเพิ่งกลับจากการประชุมร่วมกับแพทย์และทีมงานโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้การดูแลคุณหน่อยตลอดมา ทางโรงพยาบาลกำลังเตรียมจัดกลุ่มมิตรภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จึงชวนให้คุณหน่อยมาร่วมเป็นแกนนำในกิจกรรมนี้

ทั้งคุณหน่อยและคุณจืด (คู่ชีวิตผู้ดูแลให้กำลังใจคุณหน่อยอย่างอบอุ่นมาตลอด) ยังเล่าให้ฟังว่าหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต คุณหน่อยยังเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลอีกหลายครั้ง ครั้งหลังสุดเมื่อต้นปี พ.ศ.2551 เข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นแรมเดือน ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคไต ได้แก่ การเกิดถุงหนองที่ไตและกระดูกเข่าแตกร้าว เพราะภาวะกระดูกพรุนอันเกิดจากยา ขณะนอนพักอยู่ในโรงพยาบาล คุณหน่อยฆ่าเวลาให้เพลิดเพลินด้วยการวาดภาพ รวมทั้งสิ้น 70 ภาพ และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มออกมาเผยแพร่

คุณจืดเล่าว่า 'ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า' ที่เขาและคุณหน่อยจัดตั้งขึ้นมานั้นในช่วงหลังยังได้จัดกิจกรรมร่วมกับทางโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ เช่น นำเด็กพิการทางสมอง (เช่น โรคดาวน์ซินโดรม) มาปีนเถาวัลย์ โหนต้นไม้ที่ศูนย์ฯ ของเขา ช่วยพัฒนาทักษะการใช้มือและการเคลื่อนไหว

เมื่อไม่นานมานี้ ทางศูนย์ได้นำผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 20 คน มาฝึกถ่ายภาพ แล้วมอบหมายให้ทุกคนนำกล้องกลับไปบ้านถ่ายภาพกิจกรรมในชุมชน เป็นกลอุบายให้ผู้ป่วยกล้าออกสู่สังคม และสร้างความภูมิใจในตนด้วยการนำภาพถ่ายมาแสดงในงานวันเอดส์โลกของจังหวัด

ท่านที่สนใจหนังสือชื่อ 'ช่วยหน่อยเปลี่ยนไต : บันทึกเหนือทุกข์เหนือสุข' หรือกิจกรรมของ 'ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า' สามารถติดต่อไปที่คุณอาริยา โมราษฎร์ ตู้ ป.ณ. 123 อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000"

กายพิการ ใจไม่พิการ | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

กายพิการ ใจไม่พิการ | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน: "หมอชาวบ้านฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่องราวของคุณเบญจวรรณ อรุณสาธิต ผู้พิการจากการประสบอุบัติเหตุ ที่มีจิตใจแข็งแกร่ง สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่นอันน่ายกย่องยิ่ง

ในปัจจุบัน มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ร่างกายพิการเนื่องจากความผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือจากการเจ็บป่วย (ที่พบได้บ่อยก็คือโรคอัมพาตครึ่งซีกในคนวัยกลางคนขึ้นไป เบาหวานที่ต้องตัดขา) หรือจากอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บ (ที่พบบ่อยก็คือขา 2 ข้างเป็นอัมพาตจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ แขนขาขาด)

ผู้ที่เคยแข็งแรงดี อยู่ๆเคลื่อนไหวทำอะไรเองไม่ได้ ย่อมเกิดความทุกข์ กระทบต่อการประกอบอาชีพ รายได้ เป็นภาระแก่ครอบครัว มักจะมีแต่ความท้อแท้ สิ้นหวัง อมทุกข์ คือจิตใจพิการตามไปด้วย
แต่ถ้ามีจิตใจเข้มแข็ง ก็สามารถปรับตัวดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุขไม่แพ้คนปกติทั่วไปได้
ผู้พิการนอกจากต้องการการดูแลช่วยเหลือทางร่างกายแล้ว เหนือกว่านั้นคือต้องการการดูแลฟื้นฟูจิตใจเป็นสำคัญ

คุณวิมล เลาหภิชาติชัย หมออนามัยแห่งสถานีอนามัยตำบลแคตก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่หมอชาวบ้านได้สัมภาษณ์ลงฉบับที่แล้วได้เล่าถึงการช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกรายหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานได้เช่นปกติ วันๆ นั่งๆ นอนๆ อยู่แต่ในบ้าน ภรรยาต้องออกไปทำงานรับจ้างหาเงินจุนเจือครอบครัว ไม่มีเวลาและไม่ได้สนใจดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยมีความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เคยคิดฆ่าตัวตาย

ต่อมาหมออนามัยท่านนี้ได้มาเยี่ยมบ้าน พูดคุยรับฟังปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ไม่นานผู้ป่วยก็ให้ความศรัทธาไว้ใจ ยอมรับการปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูร่างกาย นอกจากนี้ยังได้ให้กำลังใจภรรยา แนะนำให้ภรรยาหาเวลาพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย และสอนให้ภรรยานวดผู้ป่วย

ครั้งแรกที่ภรรยาลงมือนวดให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยรู้สึกปีติจนน้ำตาไหล และปรากฏรอยยิ้มบนใบหน้าซึ่งได้หายไปนานปีแล้ว ไม่นานผู้ป่วยก็สามารถลุกขึ้นเดิน ช่วยตัวเองได้ดีขึ้น สามารถเดินมาหาหมอที่สถานีอนามัย ทำหน้าที่หุงหาอาหารให้ภรรยาที่ออกไปทำงานนอกบ้านได้ ช่วยซักผ้า ถูบ้าน ล้างจาน ชีวิตครอบครัวมีความอบอุ่นขึ้น ขณะเดียวกันหมออนามัยก็ได้ชักชวนเพื่อนบ้านให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ป่วย เช่น จัดหารถเข็นและอุปกรณ์ในการฟื้นฟูผู้ป่วย ทุกวันนี้ผู้ป่วยสามารถรับจ้างเลี้ยงเด็กที่เพื่อนบ้านฝากให้เลี้ยงได้

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมมีโอกาสไปเยี่ยมมิตรอาวุโสท่านหนึ่งที่นอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล มีอาการเป็นอัมพาตครึ่งซีกมา 2-3 ปี เดินไม่ได้ ไปไหนมาไหนต้องนั่งรถเข็น ภรรยาผู้ป่วยปรับทุกข์กับผมว่า หลายปีมานี้ผู้ป่วยวันๆ จมอยู่กับกองทุกข์ มีแต่ความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นภาระแก่ครอบครัว อยากทำลายตัวเองให้ตายจากโลกนี้ จนต้องให้จิตแพทย์รักษาอาการซึมเศร้า

ผมได้พูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย ท่อง 'คาถาเยี่ยมไข้'* ให้เขาฟัง และเขียนมอบให้เขาไว้อ่านพร้อมกับแนะนำวิธีเจริญสติ (สร้างความรู้ตัว) โดยการยกมือขึ้นลง หรือกำ-แบมือ ข้างที่ยังใช้การได้ หรือตามลมหายใจเข้าออก ให้ทำบ่อยๆ ทุกวัน

ต่อมาทราบข่าวจากภรรยาของผู้ป่วยว่า หลังจากกลับไปอยู่บ้าน ผู้ป่วยหมั่นเจริญสติตามที่แนะนำ มีอารมณ์แจ่มใสขึ้น ชวนให้พานั่งรถเข็นออกเล่นนอกบ้าน และเริ่มลงมือเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นงานที่ชอบและถนัดอยู่แต่เดิมที

การที่ผมคิดแนะนำมิตรอาวุโสท่านนี้เจริญสติ (สร้างความรู้ตัวอยู่ที่การเคลื่อนไหวร่างกาย) เหตุหนึ่งก็สืบเนื่องมาจากเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของอาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ผู้พิการที่เป็นนักเผยแพร่ธรรมในยุคปัจจุบันที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน โดยการสร้างความรู้ตัว (สติ) อยู่ที่การเคลื่อนไหวร่างกาย

อาจารย์กำพล เคยเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาปัจจุบัน อายุ 52 ปี เมื่ออายุ 24 ปี เกิดอุบัติเหตุ กระดูกคอซี่ที่ 5 แตก ทำลายไขสันหลัง ทำให้ขา 2 ข้างเป็นอัมพาต แขน 2 ข้างอ่อนแรงเคลื่อนไหวลำบากและมีอาการชาตั้งแต่ระดับคอลงมาทั้งตัว

หลังจากร่างกายพิการ อาจารย์กำพลได้อ่านหนังสือธรรมะอยู่ 16 ปี ก็ยังไม่หายทุกข์ ต่อมาได้เรียนรู้เคล็ดการเจริญสติจากหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ (พระครูบรรพตสุวรรณกิจ) แห่งวัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งสอนการเคลื่อนไหวมือตามแนวทางหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ หลังจากได้นอนฝึกอยู่ 1 เดือน ก็พบความสว่าง เกิดสติปัญญา หายทุกข์ (ลาออกจากความทุกข์) มีจิตสดใส ร่าเริงเบิกบาน และกล่าวว่า 'ขอบคุณความทุกข์ ขอบคุณความพิการ ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น'
Ž
ท่านที่สนใจเรื่องราวของผู้พิการนักปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมท่านนี้ แนะนำให้อ่านหนังสือชื่อ 'จิตสดใสแม้กายพิการ' โดยอาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม

* กาพย์บทนี้ ผมแต่งขึ้นเองไว้เยี่ยมไข้ผู้ที่รู้จัก มีข้อความดังนี้
'วิกฤติคือโอกาส โรคาพาธคือบทเรียน
สังขารย่อมแปรเปลี่ยน มองให้เห็นเป็นธรรมดา
จงตั้งสติมั่น อย่าครั่นคร้ามสิ่งตามมา
โรคกายพึงรักษา ตามมรรคาอันว่าดี
ภาระปัจจุบัน จงหมั่นเจริญสติ
พยุงใจให้ดีดี ทุกนาทีสุขีจัง'"

การทำบุญ ทำบุญบำบัดป่วย

บทความ การทำบุญ ทำบุญบำบัดป่วย: "บุญคืออะไร ..ท่านพระครูสุจินต์วรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย เขต 1 จังหวัดเชียงราย จึงได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า บุญคือความปลอดโปร่งโล่งสบายของใจ และความปลื้มปีติอิ่มเต็มในความรู้สึก โดยตามหลักพุทธศาสนา บุญสามารถเกิดขึ้นได้สามทางด้วยกันดังนี้ คือ

การให้ทาน การให้ (ให้โอกาส ทุนทรัพย์ สิ่งของ กำลังใจ ความช่วยเหลือ ฯลฯ) ด้วยความตั้งใจบริสุทธิ์ไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ให้ได้บุญ ยิ่งถ้าทั้งผู้รับและผู้ให้มีใจบริสุทธิ์ทั้งคู่ ก็จะยิ่งได้อานิสงส์

การถือศีล ศีลเป็นเหมือนกฎหมายที่คอยควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา และใจของเราให้อยู่ในกรอบเกณฑ์แห่งความดี การรักษาศีลทั้งห้าข้อให้บริษสุทธิ์ สามารถทำให้ร่างกายอิ่มเอิบเป็นสุข รู้สึกจิตใจสะอาด และได้บุญ

การเจริญภาวนา การทำใจให้รู้เท่าทันปัจจุบัน ขณะมีสติ มีสมาธิในการคิดตรึกตรองกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างรอบคอบและไม่ประมาท (วิธีภาวนาให้เกิดความเจริญงอกงามทางใจตามหลักพุทธศาสนา มี 3 เรื่องด้วยกันคือ การศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ที่ส่งเสริมความฉลาดของตน การทำงานที่สุจริตด้วยเหตุผลอย่างตั้งใจอุทิศตนเต็มที่ และการรู้จักหาวิธีสงบใจไม่ให้ฟุ้งซ่านเพื่อลดความยึดมั่นถือมั่นใจตัว) ก็ทำให้ผู้ปฎิบัติได้บุญเช่นเดียวกัน

ในทางศาสนา 'บุญ' เป็นเหมือนยาทิพย์ที่แม้จะไม่ช่วยรักษาอาการของโรคทางกายต่างๆ ให้หายได้ทันทันที แต่ก็สามารถบำบัดความป่วยไข้ได้ แล้วในทางการแพทย์สมัยปัจจุบันล่ะ คุณหมอจะว่าอย่างไร

บุญช่วยกาย

แพทย์หญิงอมรา มลิลา คุณหมอนักปฎิบัติธรรมจากชมรมพุทธธรรมจุฬา กรุณาตอบคำถามชวนสงสัยของพิมพ์พลอยให้ฟังว่า การทำบุญทั้งสามประเภทคือ การให้ทาน การถือศีล การเจริญภาวนา มีส่วนช่วยให้โรคภัยไข้เจ็บที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่มีอาการดีขึ้นจริง กล่าวคือ

'เดี๋ยวนี้มีองค์ความรู้ที่เรียกว่าโรคนามรูป คือใจที่เครียดเป็นกังวลจะทำให้ร่างกายของเราวิปริตแปรปรวน โรคชนิดนี้รักษายังไงก็ไม่หายจะมีแต่ทรงกับทรุด แต่พอได้รักษาด้วยการทำบุญ จิตใจจะเบิกบาน ได้ปิติอิ่มเอิบ อาการเจ็บป่วยจะดีขึ้น ซึ่งตรงนี้เองที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าหายป่วยด้วยปาฎิหาริย์ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เขาหายเพราะใจสงบหรือเรียกง่ายๆ ว่า ทำบุญนั่นเอง เพราะในขณะที่เราทำบุญ เช่น การให้ทาน เป็นต้น ใจของเราจะเกิดความเมตตา มีความสบายใจ หรือที่เราเรียกว่าเกิดความปิติอิ่มเอมใจขึ้นในทันที ทำให้สมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) หลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข หรือเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ออกมา ส่งผลให้หลอดเลือดแดงขยายตัวได้ดีขึ้น ปริมาณแล็คเตสในเลือดลดต่ำลง (ทำให้ความวิตกกังวลน้อยลง) ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานช้าลง'

'ที่สำคัญยังทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิชีวิต ซึ่งทำหน้าที่คอยป้องกันและตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายเช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อมะเร็ง เป็นต้น มีการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกาย (Immune system) ของเราแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งทำให้ความเจ็บปวดทางกายลดน้อยลง และหายจากโรคร้ายได้เร็วขึ้น'

เช่นเดียวกับการทำบุญด้วย การถือศีล นั่งสมาธิเจริญวิปัสสนา ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพกาย เช่นเดียวกัน ดังที่คุณหมออมราได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า

'จากการศึกษาระบบการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในร่างกายพบว่า การนั่งสมาธิช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง จากประมาณ 75 -100 ครั้ง/นาที เหลือเพียง 65 ครั้ง/นาทีหรือน้อยกว่านั้น การหายใจช้าลงจะทำให้การหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenaline) (ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้นไกลโคเจนในตับให้สลายตัวเป็นกลูโคส ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นทำให้ กระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้นมากขึ้น) ในร่างกายของเราลดลง'

'ส่งผลให้คลื่นสมองมีการเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เกิดเป็นความนิ่งสงบ ความเครียดความดันโลหิตลดลง อีกทั้งยังทำให้ผนังของถุงลมและหลอดเลือดฝอยในปอดมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น ร่างกายมีเวลาในการใช้ออกซิเจนเพื่อเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าภาวะที่เราหายใจปกติ และช่วยให้กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อลายซึ่งทำงานภายใต้การควบคุมของจิตใจ และใช้ในการขยับเคลื่อนไหวกระดูกในร่างกาย เกิดการคลายตัว ทำให้หายเกร็ง'

คุณหมออมรายังกล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้คนที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหืด โรคเครียด หรือแม้กระทั่งมะเร็ง ควรทำบุญเพราะจะสามารถทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้

บุญช่วยใจ

สอดคล้องกับที่ท่านพระครูสุจินต์วรคุณ บอกไว้เช่นกันว่า 'ถ้าพูดถึงความป่วยทางใจ จะรุนแรงกว่าป่วยกาย เพราะถ้าใจเราป่วยก็จะส่งผลมาถึงกายได้ เช่น คนที่ร่างกายแข็งแรงดี แต่ถ้าไม่สบายใจก็จะรู้สึกว่าตัวเองป่วยไม่อยากกินข้าวดื่มน้ำ ซึ่งที่สุดก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้ คนที่ทำบุญจึงรู้สึกสบาย เพราะเวลาที่เราทำบุญก็จะส่งผลให้จิตดี แล้วก็เหมือนกายดีไปด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำไปไปทำบุญแล้วสุขภาพร่างกายเราถึงดีขึ้น โรคภัยไข้เจ็บทุเลา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้หมายความว่าเราทำบุญแล้วความป่วยไข้ที่เป็นอยู่จะหายไปนะ มันอาจจะยังอยู่ แต่อาจจะทำให้เราเจ็บปวดน้อยลง'

นอกจากนี้ ท่านพระครูสุจินต์วรคุณยังบอกอีกว่า หากอยากให้อานิสงส์ของบุญส่งผลสูงสุด ควรทำบุญให้ครบทั้งสามอย่างดังกล่าว เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วย เพราะจะยิ่งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจ อันจะนำไปสู่กายที่เข้มแข็งได้ในเร็ววัน"

+ + + ธรรมะ...รักษาใจยามป่วยไข้ + + +

+ + + ธรรมะ...รักษาใจยามป่วยไข้ + + +: "บทความสุขภาพจิต


ธรรมะ...รักษาใจยามป่วยไข้


ร่างกายและจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นคู่กันร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีย่อมคู่กับจิตใจที่สุขสบายเรียกว่ามีความสุขใจ เมื่อร่างกายไม่สบายเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาการรุนแรงที่มีความเจ็บปวดถึงขั้นทนทุกข์ทรมาน จิตใจก็ย่อมหงุดหงิด โมโหง่าย มีความกลัวตาย กังวลใจ หวาดระแวง ท้อแท้ หดหู่ ทำให้หน้าตาหม่นหมองผิวพรรณไม่สดชื่น หมดกำลังใจจนเบื่อข้าวปลาอาหารได้สิ่งเหล่านี้คือความทุกข์


การที่เราจะรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์เมื่อร่างกายผจญกับโรคภัยไข้เจ็บนั้น เป็นเรื่องยาก แต่ก็มียาขนานวิเศษที่รักษาได้ สิ่งนั้นคือพระคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องของการเจ็บป่วยนี้ ท่านได้ตรัสสอนไว้ว่า “ ถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ถ้าใจเราไม่ป่วยเราก็จะมีกำลังใจต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้ ” ซึ่งการที่ใจไม่ยอมป่วยนี้เรียกว่า ความมีสติ คือทำใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความทุกข์ ความแปรปรวนของร่างหาย ดั้งนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา ดังนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา เราเองก็ควรรักษาใจของเราไปพร้อมกันด้วย


การรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์นั้น ต้องมีการฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง มีสติ เพื่อให้จิตตั้งมั่น จะได้ไม่อ่อนแอหรือหงุดหงิด วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือ การเอาจิตไปผูกพันกับสิ่งที่เราเคารพและศรัทธา เพื่อให้จิตใจมีสิ่งยึดเหนี่ยว เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออกแล้วท่องคำว่า พุทโธ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องกับตลอดเวลา จิตก็จะไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น การทำเช่นนี้มีประโยชน์เพราะเมื่อจิตมีสิ่งยึดเหนี่ยวก็จะมีความสงบมั่นคงเป็นจิตที่ไม่ฟุ้งว่านและไม่เศร้าหมอง มีแต่ความเบิกบานผ่องใส


ความทุกข์ใจนั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติก็จริง แต่เราสามารถดับความทุกข์ได้โดยการคุมสติให้มั่น ดังที่กล่าวมาแล้วถ้าหากเราได้ฝึกทำบ่อย ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองเพราะชีวิตของคนเราในวันหนึ่ง ๆ มีโอกาสที่จะพบกับปัญหาและเรื่องทุกข์ใจอย่างมากมาย ไม่ใช่แต่เรืองความเจ็บป่วยเท่านั้น ดังนั้นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งไว้จึงเป็นเรื่องที่ดีเพราะเมื่อมีเหตุมากระทบไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือร้ายแรงเพียงใด จิตใจก็จะมีความมั่นคงทำให้เราปรับตัวได้ และถ้าเราได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำ ผู้เขียนขอส่งกำลังใจให้ผู้ที่เจ็บป่วยทางร่างกายทุกคน ได้ยึดเอาธรรมมะเพื่อฝึกเอาชนะจิตใจให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้สำเร็จ และให้มีจิตใจที่มั่นคง ผ่องใสตลอดไป



อรอินทร์ ขำคม



แหล่งที่มา : บทความสุขภาพจิต โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์"

Wednesday, December 16, 2009

การดูจิตแบบสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ที่สุดและง่ายที่สุดในโลก เชิญมาพิสูจน์กันครับ

การดูจิตแบบสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ที่สุดและง่ายที่สุดในโลก เชิญมาพิสูจน์กันครับ: "การดูจิตแบบสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ที่สุดและง่ายที่สุดในโลก เชิญมาพิสูจน์กันครับ
Posted by physigmund_foid , ผู้อ่าน : 348 , 09:45:49 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้

การฝึกจิตานุสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ “ฝึกดูจิตอย่างไรให้หายเครียด”



การฝึกจิตสู่บันไดสวรรค์ ๗ ขั้น



๑. ฝึกดูจิตและใจ (ขั้นฝึกฝัน)

หลักการฝึกจิตานุสติปัฏฐาน จำต้องแยกแยะระหว่างจิตและใจให้ได้เป็นเบื้องต้น ปกติ จิตและใจจะทำงานร่วมกันเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่บางครั้งก็ขัดแย้งกันได้ เราจึงมักเรียกรวมกันว่า “จิตใจ” หรือ การสื่อสารของจิตและสมองนั่นเอง การฝึกดูการทำงานของสมองด้วยจิต หรือการฝึกดูการทำงานของจิตโดยสมองนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถฝึกได้ไม่ยากเกินความพยายามของมนุษย์ปกติ ดังต่อไปนี้



๑.๑) การฝึกใช้จิตดูใจ (สมอง)

นั่งสงบนิ่งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นั่งแล้วสบายใจ นั่งได้นาน เช่น ริมทะเลที่สงบ หรือริมทะเลสาบกว้าง, ทุ่งนาที่สงบเงียบ, ชายเขา, ยอดเขา, ริมหน้าผา ฯลฯ เมื่อนั่งนิ่งดีแล้ว ลองสังเกตดูว่ามีความคิดอะไรผุดขึ้นมาในสมองบ้าง แล้วรับรู้เรื่องเหล่านั้นที่ผุดออกมาดับลงเมื่อใด เกิดเรื่องใหม่ๆ ผุดออกมาแทนเมื่อใด ดูความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วดับไปเพลินๆ ดูเล่นๆ อยู่กับตัวเอง ไม่ปรุงแต่งความคิดเพิ่ม ปล่อยจิตใจให้คิดไป ไม่ต่อต้าน ไม่ห้าม ดูเพลินๆ เหมือนฟังวิทยุหรือดูทีวีฉะนั้น จนรู้สึกว่าจิตใจเริ่มเบาสบาย เริ่มนิ่งลง เริ่มสงบลง จนเกิด “ช่องว่างทางความคิด” คือ “จิตว่าง” ไม่มีอะไร ไร้ซึ่งความคิดใดๆ เบาสบายสมองและจิตใจ นับว่าสำเร็จขั้นที่หนึ่ง



๑.๒) การฝึกใช้ ใจ (สมอง) ดูจิต

คราวนี้ ให้หลับลงก่อน หลับให้สบายให้สนิท โดยกำหนดจิตว่าจะรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างหลับโดยละเอียดและตลอดลอดฝั่ง แล้วก็ค่อยๆ หลับตาลง ปล่อยให้หลับไปตามปกติ หากเกิดความฝันขึ้น ให้รับรู้ทันทีว่ามีการฝันเกิดขึ้น ภาวะนี้ สมองจะทำการปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง หากตอนกลางวันจำอะไรค้างไว้ ก็จะทำการเคลียร์ออก เช่น ชอบสาวสวยคนหนึ่งแล้วมีเหตุให้ละความสนใจออกไป เกิดสัญญาความจำคั่งค้างในสมอง เรียกว่า “ธาตุแปรปรวน” ตอนกลางคืนก็เก็บสาวสวยมาฝันต่อได้ จนในที่สุด สมองปรับสมดุลเต็มอิ่มครบกระบวนการก็จะละทิ้งสาวสวยรายนี้ไปจนหมดสิ้น เรียกว่าหมดเวรหมดกรรมกันไป (หากไม่เจอกันอีกเลย) เป็นการชำระรอยกรรมรอยเกวียนในความฝัน กระบวนการนี้เป็นการปรับสมดุลของสมองโดยธรรมชาติ จะใช้ชำระกรรมในยามฝันได้เฉพาะกรรมที่เป็นเศษวิบากกรรม หากเป็นการชดใช้กรรมในสมาธิ อาจเห็นเป็นภาพนิมิตเช่นอดีตชาติ ก็จะได้ “ญาณระลึกชาติ” ซึ่งจัดเป็น “อภิญญา” หนึ่งในหกอภิญญา คือ ความรู้อันยิ่งยวดที่คนปกติไม่อาจรู้ได้ขนาดนี้ หากมีปัญญาเห็นว่าเป็นอดีตชาติได้เข้าใจความเป็นมาได้ นับว่าเป็นความรู้อันยิ่งยวด แต่บางครั้งการฝันเป็นการรับรู้สิ่งที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้หรือบางทีก็เป็นไปด้วยกิเลสตัณหาของตนเอง การที่สมองสามารถรับรู้ จดจำ ความฝันได้



และเมื่อตื่นขึ้นมาสามารถเล่าเรื่องราวตลอดจนเข้าใจความหมายต่างๆ ของความฝันได้ เรียกว่า “สมองดูการทำงานของจิต” เป็นแล้ว กล่าวคือ สมองเพิ่งเกิดมาในชาตินี้ จึงไม่มีสัญญาความจำในอดีตชาติแต่อย่างใด แต่บันทึกรอยกรรมในอดีตชาตินั้น รับรู้ได้ด้วยจิต เพราะจิตเป็นผู้รับรู้ถึงกรรมในอดีตชาติ หรือมีญาณสัมผัสอนาคตได้ จิตนั้นจึงสื่อสารบอกสมองทุกวันในยามหลับด้วยการฝัน ซึ่งบางครั้ง จิตไม่ได้ทำงาน สมองเป็นผู้ทำงานจึงฝันขึ้น แล้วจิตไปรับรู้ จากนั้น ก็สั่งงานให้สมองบันทึกความจำไว้ก็มี โปรดเข้าใจว่า “สัญญาขันธ์” ไม่ใช่ “เรา” และเราเป็นจิต เราไม่ใช่ร่างกายนี้ ที่ต้องสลายไปตามอายุขัย แต่เราเป็นจิตที่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้นตราบที่ไม่นิพพาน ดังนั้น เราจึงไม่มีสัญญาขันธ์ เราจึงไม่ใช่ขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่อัตตาที่จะยึดไว้ จิตรับรู้อดีตชาติได้ ไม่ใช่เพราะจิตมีสัญญาขันธ์เป็นของของมัน แต่เพราะจิตเป็นธาตุรู้ที่รับรู้ “กรรมในอดีต” ที่ย้อนกลับมาสู่จิตอีกครั้ง ประดุจดังผู้โยนผลไม้ขึ้นฟ้าย่อมต้องลงลงมาสู่พื้นดินในวันหนึ่ง กรรมเป็นคลื่นพลังงานที่จิตส่งออกไปในอดีตชาติ แล้วเดินทางย้อนกลับมาสู่จุดเดิม เมื่อจิตสัมผัสได้ก็จะถ่ายทอดเรื่องราวผ่านวิธีต่างๆ แก่สมอง ดังนั้น การฝึกใช้ “สมองดูจิต” ที่ง่ายที่สุด คือ การฝึก “ดู, แยกแยะ, ตีความ และตรวจสอบความแม่นยำของความฝัน” นี่เอง



การฝึกใช้สมองดูจิตหรือการฝึกฝันนี้ จำต้องฝึกอย่างละเอียด เช่น เวลาฝันรับรู้ความเจ็บปวดร้อนหนาวได้หรือไม่ หรือรับรู้รสชาติใดๆ ได้หรือไม่ เพราะในยามฝัน ร่างกายไม่ได้ทำงานรับรู้ แต่จิตต่างหากเป็นผู้รับรู้ ดังนั้น ในยามฝัน จึงมีความรู้สึกอร่อยเมื่อฝันว่ากินอาหารได้ เพราะการรับรู้ของจิต ลองสังเกตว่า ระหว่างการจดจำความรู้สึกอร่อยกับความรู้สึกอร่อยในความฝันใช่อย่างเดียวกันหรือไม่ หากเหมือนกันแสดงว่าความรู้สึกอร่อยในความฝันนั้น เป็น “ความจำ” หรือ “สัญญาขันธ์” ที่เก็บไว้ในสมองแล้วผุดขึ้นมายามหลับฝัน แต่หากมีความแตกต่างกัน อาจไม่ใช่ความทรงจำถึงรสชาติอร่อยที่สมองเก็บไว้ อาจเป็นการรับรู้โดยจิต โดยจิตอาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงรับรู้รสชาติของอาหารในฝันนั้นได้ เช่น จิตอาจพุ่งความสนใจไปจดจ่อยังอาหารบางชนิด แล้วดูดซับพลังงานหรือ “อาหารทิพย์” ในอาหารนั้น เพราะว่าจิตเป็นพลังงาน ย่อมมีพลังดึงดูดและผลักพลังงานในรูปแบบต่างๆ ได้ ส่วนการรับรู้รสชาติของอาหารทิพย์ เป็นการรับรู้ด้วยจิตที่แตกต่างจากการรับรู้ทางกาย ให้ฝึกสังเกตแยกแยะให้ได้ จนชัดเจนว่า “ส่วนใดคือการทำงานของสมอง” และ “ส่วนใดคือการทำงานของจิต”



๒. ฝึกแยกแยะจิตและใจ (ขั้นฝึกฌาน)

เมื่อเริ่มเข้าใจว่าความคิดและจิตเป็นคนละส่วนกัน หรือความคิดกับความรู้สึกไม่เหมือนกัน โดยการนั่งสังเกตความคิดจนความคิดดับหมดไม่มีความคิด เหลือแต่อารมณ์ความรู้สึกที่เบาสบายสงบนิ่ง และสังเกตความรู้สึกทางจิตจากการหลับฝัน จนแน่ชัดแล้วว่าจิตมีความรู้สึกและมีลางสังหรณ์ เป็นผู้รู้ ในสิ่งที่ไม่มีในสมอง เพราะสมองเป็นที่เก็บความทรงจำสัญญาขันธ์ต่างๆ ส่วนจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตัดสินใจ สั่งการและก่อกรรมต่างๆ โดยใช้สมองเป็นเหมือนโต๊ะทำงานหรือเรขานุการฉะนั้น ซึ่งเรขานุการนี้ จะเปลี่ยนไปในแต่ละชาติภพ หากตายลงจากคนไปเกิดเป็นแมว ก็จะมีเรขานุการที่มีมันสมองเท่าแมวเท่านั่นเอง จิตแม้นเป็นผู้รู้ มีความอยาก มีการสั่งการ และการกระทำใดๆ ก็ไม่อาจทำได้เท่ากับตอนที่เป็นคน เมื่อคิดได้ถึงขั้นนี้แล้ว จะนำไปสู่การฝึกขั้นต่อไป คือ การดูจิตและใจพร้อมกัน แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นจิตและใจ



ขั้นนี้ผู้ฝึกต้องหัดเข้าฌานจนสำเร็จถึง “ฌานสี่” จากนั้นก็อาศัย “วสี” คือ ความชำนาญในองค์ฌาน คอยนับองค์ฌาน ดูการเกิดและดับของความคิดและจิตใจ ลองใช้สติที่ว่องไวจับดูว่า “จิต” และ “ใจ” อะไรดับก่อนกัน อะไรหยุดทำงานก่อนกัน และเมื่อใจหยุดทำงานแล้ว จิตเดิมแท้ จิตแท้ๆ มีลักษณะการทำงานอย่างไร ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่าง “จิต” และ “ใจ” ได้อย่างชัดเจน ถึงจุดนี้ถือว่าผ่านได้



๒.๑) นั่งสมาธิในท่าที่สบายในสถานที่ที่สงบร่มเย็นชวนให้เผลอหลับ แต่เราจะต้องไม่หลับก่อนที่จะเข้าสู่ฌาน จากนั้น บอกกับตัวเองว่าจะขอพักว่างๆ สักพัก พอออกจากการพักก็จะสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีปัญญาแจ่มใส ร่างกายเต็มเปี่ยมด้วยพลัง

๒.๒) เมื่อนั่งแล้วจะรู้สึกมีเรื่องราวชวนให้เลิกนั่งมากมาย เรียกว่า “ฟุ้งซ่าน” ให้ค่อยๆ จับอารมณ์ “สุขที่ได้นั่งพักสบาย” ที่มีอยู่นี้ไปเรื่อยๆ ไม่หลุด ไม่ออกจากความสุขสบายจากการพักว่างๆ สบายๆ นี้ อะไรจะเกิดก็ช่างมัน จะคิดอะไรก็ไม่ห้าม ปล่อยไป

๒.๓) เมื่อนั่งติดลมไปได้สักพักจะเริ่มกังวลว่าเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ มีเหน็บชาไหม หากมีความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อยที่ใด อย่าขยับ เพราะเราจะเข้าสู่อัปนาสมาธิ เป็นสมาธิขั้นสูงที่ร่างกายจะเหมือนตายแล้ว ให้แผ่ความรู้สึกในร่างกายส่วนนั้น ให้บางเบาลงไป จนหมดความรู้สึกว่ามีกายในส่วนนั้นๆ จนร่างกายทั้งร่างเหมือนไม่มีกายเลย

๒.๔) เมื่อกายหายไปแล้ว บางครั้งความคิดหรือจิตใจยังทำงานอยู่ เหมือนได้ยินเสียงในโสตประสาทตนเองพูดกับตนเองเบาๆ จากนั้นเริ่มเบาลงบ้าง เริ่มรู้สึกว่าเหมือนมีเสียงแต่จับความหมายไม่ได้บ้าง เรียกว่าฟังไม่ได้ศัพท์แล้ว แต่รู้สึกว่ามีอยู่ แบบนี้เข้าสู่ “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” คือ ความรู้สึกเหมือนมีสัญญาความจำได้หมายรู้ แต่ก็เหมือนไม่มี มีเหมือนไม่มีฉะนั้น จากนั้น จะเข้าสู่ภาวะดับหายไปหมด



ให้ลองพิจารณาดูว่าความคิดและจิตใจทำงานอย่างไร จนกระทั่งสิ่งต่างๆ ค่อยๆ ลบหายไปทีละอย่าง หยุดทำงานไปทีละอย่าง จนเหลืออย่างสุดท้ายที่รับรู้ได้ คืออะไร



๓. ฝึกใช้ใจตามรู้ดูจิต (ขั้นเริ่มต้นวิปัสสนา)

การฝึกในลำดับขั้นนี้ เป็นการ “สักแต่ว่าดู” โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่เสริมเติมอันใดทั้งสิ้น จิตนั้นมีแปรเปลี่ยน จากกุศลจิต (จิตดี) ดับไป เกิด อกุศลจิต (จิตเลว) สลับกันไป ไม่ต้องห้าม ไม่ต้องยื้อ ไม่ต้องออกกำลังป้องกัน ให้ตามรู้ดูจิตอย่างเดียว ขั้นนี้ให้ทำเพียงเท่านี้ สิ่งที่ได้คือ “การเจริญสติ” สติจะแก่กล้าเป็นอินทรีย์ที่กล้าแกร่งขึ้น สติจะไวมีความเท่าทันการเกิดดับของจิตตนเอง มีความเร็วและละเอียด เห็นจิตของตนเองที่เกิดดับไปอย่างละเอียดและรวดเร็วว่องไว เมื่อดูจนคล่องแล้ว ให้เพิ่มปัญญาเข้าไปในสติทุกครั้งที่ดู (จำต้องดูตลอดเวลาทั้งวัน แต่ไม่ต้องนั่งสมาธิหลับตา) ดังนี้



๓.๑) ดูแค่คิดอะไรรู้สึกอะไร แล้วเรื่องนั้น “หยุดลง ดับลง” หยุดเมื่อไรให้รู้ทันทีว่าหยุด ให้รู้ว่าเรื่องที่คิด หรือความรู้สึกนั้นๆ ดับลงไปแล้ว รู้ทันทีที่ดับหายให้เร็วๆ

๓.๒) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “กุศลจิต หรือ อกุศลจิต” ดูให้เห็นว่าจิตกุศลเกิดแล้วเมื่อไร ดับลงเมื่อไร มีจิตอกุศลเกิดเมื่อไร ดับลงเมื่อไร รู้ให้ทัน

๓.๓) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “อกุศลจิต ประเภทใด” ในสามประเภทนี้ คือ โลภะ, โทสะ, โมหะ (โลภะมีเรื่องกามเข้าไปรวมด้วย) ดูให้รู้ทันประเภทจิต

๓.๔) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “จิตประเภทใดใน ๑๒๑ ดวง” สามารถระบุจำแนกประเภทได้ทันทีที่จิตเกิดขึ้นแล้วดับลงก็รู้เท่าทันจนรู้จักจิตทั้ง ๑๒๑ ดวง

๓.๕) ดูจิตในจิตตนเอง แล้วดูทั้งในและนอกแยกเป็น “รูป-นาม” รูปคือ “นอก” นามคือ “ใน” ไม่สุดโต่งติดแต่ภายใน และไม่มัวหลงแต่ภายนอก ดูจิตทั้งนอกและใน เมื่อเห็นรูปแล้วเกิดนามใด (นอกกระตุ้นจิตอะไรเกิด) แล้วเมื่อใดนามดับ ดับเพราะอะไร



การดูจิตทั้งห้าขั้นนี้ จะเริ่มจากง่ายที่สุด เรียงลำดับไปสู่ยากที่สุด เมื่อเข้าสู่การดูจิตอย่างเต็มรูปแบบ จำต้องนั่งสมาธิ เพื่อดูจิตให้ครบ ๑๒๑ ประเภท ซึ่งบางประเภทจะมีเฉพาะตอนนั่งเข้าฌานเท่านั้น อีกทั้งบางประเภทจำต้องบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปจึงเห็นได้อีกด้วย ดังนี้ จึงมักดูไม่ครบ ๑๒๑ ดวง อนุโลมให้ดูจิตแบบย่อได้ จากนั้นเข้าสู่จุดสูงที่สุดของการดูจิต คือ การดูจิตแบบ “พลวัตร” หรือ “ธรรมจักร” คือ ไม่ดูแบบนิ่งแช่ในตัวเองอย่างเดียวโดยไม่สนใจอะไรรอบตัวในโลกก็หาไม่ แต่ให้ดู “นอก-ใน” แยกเป็น “รูปนาม” เห็น “รูปนาม” เกิดดับสลับกันจนคล่อง จนชำนาญดี ก็ผ่านขั้นนี้



๔. ฝึกจิตให้มีกำลังเหนือใจ (ขั้นสมถะเสริมวิปัสสนา)

ขั้นนี้จะเริ่มกำหนดจิตด้วยคำ “บริกรรม” หรือใช้ “ธรรมนำจิต” คือ เริ่มเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เริ่มเข้าสู่ “ธรรมานุสติปัฏฐาน” ขั้นต้นแล้ว ในระยะที่ผ่านมาทั้งหมด ไม่มีการกำหนดจิตเลย เพียงแต่ดูจิต ปล่อยจิต รู้เท่าทันจิตเท่านั้น จิตจึงมีอินทรีย์กล้าแกร่งขึ้นคือ “สติ” และตามด้วย “สมาธิ” ในช่วงฝึกฌาน ต่อไปนี้จะเพิ่มกำลังจิต คือ กำลัง “สมาธิ” ให้มากขึ้น ด้วยการกำหนดจิตนำทางก่อนที่จะปล่อยจิตไปเฉยๆ อย่างที่ผ่านมา เป็นการซักซ้อมก่อนเข้าสู่การต่อสู้กับใจของตนเองเพื่อเอาชนะกิเลส ให้พิจารณาเลือกวิธีกำหนดจิตตามแบบใดแบบหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คือ



๔.๑) “มรณานุสติ” คือ การพิจารณาเสมอว่ามีความตายเกิดขึ้นได้ทุกวินาที ก่อนที่จิตจะระลึกไปถึงอะไร ก็ระลึกความตายนั้นก่อนเสมอ เช่น เห็นคนสวย คิดถึงความตายก่อนทันที ที่จิตจะระลึกนึกถึงเรื่อง “กาม” ทำอย่างนี้ในทุกสรรพสิ่ง แต่จะต้องวางจิตเป็นกลางอุเบกขา ไม่รู้สึกลบต่อความตาย หากรู้สึกลบต่อความตาย จิตจะตกและห่อเหี่ยวมีอาการทางจิต เป็นโรคจิตซึมเศร้าและอยากฆ่าตัวตายได้ เมื่อชำนาญดีแล้ว ถือว่าฝึกจิตสำเร็จก็ต่อเมื่อทุกครั้งที่เห็นอะไร “ระลึกความตายได้ก่อนเสมอ” จนในที่สุด จิตเกิดกำลัง “สมถะ” สามารถข่มกิเลสกำราบได้ราบคาบทุกชนิด



๔.๒) “ธรรมานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “ไตรลักษณ์” ได้แก่ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา ก่อนที่จิตจะแล่นไปเรื่องใดๆ ก่อนที่จะเกิดกิเลสใดๆ ก็ตาม ให้ระลึกถึงธรรมข้อนี้ก่อนเสมอ อาจกำหนดเป็นคำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” ตามการเคลื่อนไหวท้องน้อยตามลมหายใจเข้าออกก็ได้ ทำตลอดทั้งวัน อย่าเผลอหลุดให้จิตเกิดกิเลสก่อน ให้ระลึกถึง “ยุบหนอ พองหนอ” ได้ก่อน จนจิตมีกำลังสมถะสูง ข่มกำราบกิเลสทุกชนิดได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดกิเลส “ยุบหนอ พองหนอ” เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง



๔.๓) “กรรมานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “กรรม” ก่อนที่จะเกิดความคิดหรือความรู้สึกอื่นใดเสมอ เพราะสรรพสิ่งย่อมมีสาเหตุก่อนเกิดผล และสาเหตุนั้นก็ล้วนมาจากกรรมทั้งสิ้น อาจใช้คำบริกรรมระลึกในใจอยู่เสมอว่า “กรรมหนอๆ” หรือ “เวรกรรมๆ” พูดซ้ำๆ จนจิตคลายอารมณ์ที่ดำเนินอยู่ หากจิตจะตรึกเรื่องกาม ก็ “เวรกรรมๆ” พูดซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนจิตคลายการตรึกนึกถึงเรื่องกามในที่สุด สามารถใช้กำลังสมถะที่กล้าแกร่งนี้ข่มกำราบกิเลสได้ทุกชนิด ก็ถือว่าสำเร็จขั้นสูงสุดของการใช้คำบริกรรมนี้



๔.๔) “พุทธานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “พระพุทธเจ้า” หรือ “พระธรรม” เป็นอารมณ์ ไม่ให้จิตหลุดออกไปสู่อย่างอื่นเลย เพราะเราจะเดินตามแนวทางของพระพุทธเจ้า แบบนี้เหมาะกับคนที่มีปัญญาอยู่แล้ว หรือมีวิริยะมาก แต่ไม่เหมาะกับศรัทธาจริต เพราะจะส่งผลให้เกิดการยึดติดพระพุทธเจ้าแทน (แต่ก็สามารถทำได้) ให้บริกรรมในใจ “พุทธโธ” ตามลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา ลมหายใจเข้า “พุทธ” ลมหายใจออก “โธ” หรือใช้บทสวดพระนามพระพุทธเจ้าบางพระองค์ก็ได้ เช่น “อมิตาพุทธ” หรือ “นำโม อานีทอฝอ” จนจิตคลายจากกิเลส สำรอกได้ทุกชนิด นับว่าทำสำเร็จ



๔.๕) “สุญญตานุสติ” คือ ให้ระลึกถึงสรรพสิ่ง “ว่าง” ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารจะให้ยึดมั่นถือมั่น สรรพสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนไป ไม่รู้จะยึดมั่นอะไรเป็นหลักได้ สรรพสิ่งล้วนแยกย่อยกลายเป็นเหมือนทรายกองเดียวกัน จนในที่สุดละเอียดจนไม่เหลืออะไรเป็นตัวเป็นตน คือ “สูญสิ้นไป” จิตระลึกถึงสรรพสิ่งล้นเป็นมายาว่างไม่มีสาระแนสารแห่งการยึดมั่นนี้ เกิดขึ้นจนกล้าแกร่งกำราบกิเลสได้ทุกชนิดแล้ว ถือว่าผ่านด่านนี้ได้



การฝึกจิตจนสำเร็จขั้นนี้เรียกว่าสำเร็จ “เจโตวิมุติ” คือ ฝึกจิตจนมีกำลังกำราบกิเลสได้หมดชั่วคราว แต่ยังไม่มี “ดวงตาเห็นธรรม” ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง เรียกได้ว่า “บู๊” สูงสุดแล้ว ยังขาด “บุ๋น” เท่านั้นเอง ขออธิบายว่า “เจโตวิมุติ” ในที่นี้ ไม่ใช่พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติ แต่ใช้หมายถึง “การบรรลุสมถะขั้นสูง” กล่าวคือ “วิมุติ” หมายถึงการหลุดพ้นหรือบรรลุ ส่วน “เจโต” หมายถึงพลังจิตขั้นสูง ไม่ใช่พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติแต่อย่างใด กรณี พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุตินั้น นอกจากจะบรรลุเจโตวิมุติแบบนี้แล้ว ยังจะต้องใช้ “ปัญญา” รู้แจ้งแทงตลอดถึงสรรพสิ่งด้วยตนเอง จนมี “ดวงตาเห็นธรรม” เรียกว่า “อ๋อ แป๊งแว้บ” ด้วยตนเองนั่นเอง เรียกว่าใช้ปัญญาเพื่อความวิมุติ เป็น “ปัญญาวิมุติ” ในลำดับสุดท้าย แต่ได้เจโตวิมุติก่อน จึงจัดเป็นพระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติ นั่นเอง ขอให้เข้าใจตามความหมายนี้ด้วย



๕. ฝึกใช้พลังจิตเอาชนะใจ (ขั้นประหารกิเลส/สมุทรเฉทประหาร)

ขั้นก่อนหน้านี้เป็นการกำราบกิเลสเพียงแค่ชั่วขณะเท่านั้น ไม่ใช่การขุดลอกสันดอนกิเลสให้สิ้นไป จึงเป็นการใช้กำลังสมถะข่มกำราบกิเลสเพียงชั่วคราวไม่ถาวร ขั้นต่อไปนี้ จะเป็นการเอาชนะกิเลสโดยสิ้นเชิง คือ ด่านประตูอรหันต์นั่นเอง ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ใช้เวลาไม่นาน การบรรลุธรรมจะใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีทองเท่านั้น ไม่ได้ใช้การยืดเยื้อแต่ประการใด เสมือนประกายไฟจากฟ้าผ่า แว่บเดียวเท่านั้นก็สามารถบรรลุได้ทันที ไม่มีลักษณะของการค่อยๆ บรรลุแต่อย่างใด แต่ก่อนจะเข้าสู่ช่วงบรรลุธรรมนั้น จะผ่านด่านต่างๆ และวิธีการฝึกจิตต่างๆ ก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจบรรลุในทันทีที่เริ่มทำได้ จำต้องทำแล้วรอจังหวะวินาทีทองนั้น หากจังหวะวินาทีทองมาถึง และทำได้สำเร็จก็สามารถบรรลุได้ทันที โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้



๕.๑) ดูจิตดับในขณะเข้าฌานนั่งสมาธิ

ให้นั่งสมาธิเข้าฌาน แล้วดูการดับไปของจิตทุกดวง ก่อนเข้าสู่ “ฌานสี่” ช่วงรอยต่อองค์ฌานระหว่างฌานสามเข้าฌานสี่ เป็น “เสี้ยววินาทีบรรลุธรรม” ในแบบ “อนุโลมญาณ” คือ เดินเข้าสู่องค์ฌานไปข้างหน้า จากฌานหนึ่งไปถึงฌานสี่ หากสติไวพอเห็นการดับไปของจิตก่อนเข้าสู่ฌานสี่ได้ ปัญญาสว่างไสวขึ้นมาก็บรรลุทันที การจะบรรลุธรรมได้ในขณะเข้าสมาธินี้นับว่าต้องมี “วสี” คือ ความชำนาญในองค์ฌานสูงมาก จำต้องมีสติไวมากที่จะเห็นการเกิดดับของจิตก่อนเข้าสู่ฌานสี่ ต้องฝึกเข้าหน้าถอยหลังระหว่างองค์ฌานสามและสี่ อนุโลม ปฏิโลมอยู่อย่างนั้นเอง กลับไปกลับมาอยู่เช่นนั้น สำหรับผู้ที่ชำนาญในฌานแล้ว ก็สามารถบรรลุธรรมได้โดยง่าย แต่หากไม่เก่งในการเข้าฌานจำต้องใช้เคล็ด “วิปัสสนาลืมตา” ดังที่จะอธิบายต่อไป



๕.๒) ดูจิตดับขณะวิปัสสนาลืมตา

เวลาทำงานลืมตาทำอะไรให้ทำซ้ำๆ กัน จนสมองจดจำกระบวนการทำงานแล้วตั้งโปรแกรมอัตโนมัติ ในที่สุดสมองก็จะหยุดพักการสั่งงาน ความคิด ความจำ จะดับไปก่อน จากนั้น จิตผู้รู้ ผู้รับความรู้สึกเวทนาสุขทุกข์ ก็จะดับไปด้วย เป็น “อขมทุกข์อขมสุข” คือ ภาวะที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขทั้งสองอย่างเลย ถึงตอนนี้ความคิดความรู้สึกใดๆ จะดับไปด้วย เมื่อว่างเป็น “สุญญาตา” แล้วได้สติ ก็แป๊งแว้บบรรลุแบบฉับพลันได้ทันที การบรรลุแบบนี้เป็นการบรรลุโดยวิปัสสนาลืมตาแบบเซน เวลาทำงานให้ทำงานที่มีกระบวนการทำงานซ้ำๆ เช่น กวาดลานวัด, ขัดพื้นวัด, ดำนา, กระแทกหูกทอผ้า, ตำน้ำพริก, ปั่นจักรยาน ฯลฯ นี่คือ เสี้ยววินาทีที่จะบรรลุธรรมทั้งสิ้น



เมื่อฝึกจิตจนสำเร็จขั้นนี้ เรียกว่า “บรรลุอรหันต์” เป็นการบรรลุการฝึกจิตสูงสุดทางพระพุทธศาสนาสำหรับสาวกภูมิทั่วไป ถือได้ว่าเป็น “อเสขบุคคล” คือ บุคคลที่จบการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ไม่ต้องศึกษาอีกก็ได้ แต่ในบทความนี้ จะกล่าวถึงการฝึกจิตขั้นต่อๆ ไป ซึ่งเป็นแนวทางของ “พุทธภูมิ” นั่นคือการฝึกจิตเพื่อบำเพ็ญบารมีนั่นเอง



๖. ฝึกใช้พลังจิตนำทางใจ (ขั้นประยุกต์ใช้/ปฏิเวธ)

เมื่อจิตเห็นแจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่งแล้ว มีธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมเปิดแล้ว สิ่งที่จะฝึกต่อไปคือ “ฝึกจิตรู้” ให้รู้เรื่องอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ณ จุดนี้ จิตรู้แจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่งจึงปราศจากทุกข์ทางใจอีก จิตเป็นอิสรภาพจากใจอย่างเต็มที่ มีสุขเต็มสมบูรณ์ เราจะใช้จิตและฝึกจิตเพื่อให้เกิด “ปัญญาบารมี” เพิ่มมากขึ้น เพราะการมีดวงตาเห็นธรรมนี้ เป็นเพียงการบรรลุ “อรหันตสาวก” ยังไม่ได้ “สัพพัญญูญาณ” คือ ไม่ใช่ผู้รู้ทุกสิ่ง แต่เราจะบำเพ็ญเพียรเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ต่อไป (กรณีไม่ห่มเหลือง) ดังนั้น เราจึงจะมาฝึก “จิตผู้รู้” ให้มีความรู้กว้างขวางและยาวไกลละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปัญญาบารมี และจะทำให้ได้ปัญญาไปช่วยเหลือผู้คน ดังนี้



๖.๑) การฝึกลำดับเหตุผลต้นกรรม ย้อนไปข้างหลังและเดินไปหน้า เพื่อสืบสาวดูสาเหตุรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา และพิจารณาประเมินผลถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ทำนาย) จนสามารถหาทางแก้ปัญหาได้ เรียกว่าการหาแนวทางแก้ไข

๖.๒) การฝึกจิตรู้ใจผู้อื่น ให้ฝึกจิตเพื่ออ่านความคิดหรือจิตใจของผู้ที่เราต้องการทราบ จำต้องแยกแยะให้ออกว่าคนดีคนเลวแตกต่างกันอย่างไร โดยไม่ได้ดูเพียงเปลือกนอก แต่ดูลึกเข้าไปข้างในจิตที่แท้จริง ก็จะสามารถจัดกำลังคนได้ถูกต้อง

๖.๓) การฝึกจิตนำใจผู้อื่น หรือ “การสะกดจิตผู้อื่น” นั่นเอง เป็นการใช้พลังจิตที่ฝึกดีแล้วเพื่อให้ผู้อื่นทำตามใจตน หรือคล้อยตามสิ่งที่ตนต้องการให้ทำ เมื่อฝึกจิตได้สำเร็จถึงขั้นนี้ จะมีความสามารถเป็นผู้นำ มีบริวาร สามารถทำงานใหญ่ได้



๗. ฝึกประสานจิตใจเป็นหนึ่ง (ขั้นหลอมรวมสู่การบำเพ็ญบารมี)

ขั้นตอนนี้เป็น “ศิลปะขั้นสูง - ไร้ลักษณ์” ไม่มีถูกหรือผิด แตกต่างไปตามแต่แนวทางของแต่ละคน ให้ศึกษาแนวทางได้เอง จากพระอรหันต์ที่ช่วยเหลือมวลมนุษย์มาเป็นแบบอย่าง ว่าท่านได้ผสมผสานจิตใจหลอมรวมเพื่อช่วยเหลือผู้คนได้อย่างไร โดยเข้าหาสังคม เพื่อยื่นมือเข้าช่วยเหลือสังคม พัฒนาจนได้แบบของตนเอง สูงสุดของขั้นนี้คือ “ยูไล” คือการตั้งปณิธานหมุนกงล้อธรรมให้สำเร็จได้ในชาตินั้นๆ นั่นเอง



สรุปลำดับการฝึกจิตานุสติปัฏฐาน ๗ ขั้น

๑. ฝึกดูจิตและใจ (ฝึกเป็นนักฝันอย่างมีสติ)

๒. ฝึกแยกแยะจิตและใจ (ฝึกนั่งสมาธิเข้าฌาน)

๓. ฝึกใช้ใจตามดูจิต (ฝึกวิปัสสนาขั้นต้น)

๔. ฝึกให้จิตมีกำลังเหนือใจ (ฝึกใช้สมถะเสริมวิปัสสนา)

๕. การใช้พลังจิตเอาชนะใจ (ใช้ประหารกิเลส - บรรลุ)

๖. ฝึกใช้พลังจิตนำทางใจ (ขั้นประยุกต์ใช้ - ปฏิเวธ)

๗. ฝึกประสานจิตใจเป็นหนึ่ง (ขั้นการบำเพ็ญบารมี)"

การดูจิตแบบสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ที่สุดและง่ายที่สุดในโลก เชิญมาพิสูจน์กันครับ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net

การดูจิตแบบสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ที่สุดและง่ายที่สุดในโลก เชิญมาพิสูจน์กันครับ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net: "การฝึกจิตานุสติปัฏฐานฉบับสมบูรณ์ “ฝึกดูจิตอย่างไรให้หายเครียด”



การฝึกจิตสู่บันไดสวรรค์ ๗ ขั้น



๑. ฝึกดูจิตและใจ (ขั้นฝึกฝัน)

หลักการฝึกจิตานุสติปัฏฐาน จำต้องแยกแยะระหว่างจิตและใจให้ได้เป็นเบื้องต้น ปกติ จิตและใจจะทำงานร่วมกันเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่บางครั้งก็ขัดแย้งกันได้ เราจึงมักเรียกรวมกันว่า “จิตใจ” หรือ การสื่อสารของจิตและสมองนั่นเอง การฝึกดูการทำงานของสมองด้วยจิต หรือการฝึกดูการทำงานของจิตโดยสมองนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถฝึกได้ไม่ยากเกินความพยายามของมนุษย์ปกติ ดังต่อไปนี้



๑.๑) การฝึกใช้จิตดูใจ (สมอง)

นั่งสงบนิ่งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นั่งแล้วสบายใจ นั่งได้นาน เช่น ริมทะเลที่สงบ หรือริมทะเลสาบกว้าง, ทุ่งนาที่สงบเงียบ, ชายเขา, ยอดเขา, ริมหน้าผา ฯลฯ เมื่อนั่งนิ่งดีแล้ว ลองสังเกตดูว่ามีความคิดอะไรผุดขึ้นมาในสมองบ้าง แล้วรับรู้เรื่องเหล่านั้นที่ผุดออกมาดับลงเมื่อใด เกิดเรื่องใหม่ๆ ผุดออกมาแทนเมื่อใด ดูความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วดับไปเพลินๆ ดูเล่นๆ อยู่กับตัวเอง ไม่ปรุงแต่งความคิดเพิ่ม ปล่อยจิตใจให้คิดไป ไม่ต่อต้าน ไม่ห้าม ดูเพลินๆ เหมือนฟังวิทยุหรือดูทีวีฉะนั้น จนรู้สึกว่าจิตใจเริ่มเบาสบาย เริ่มนิ่งลง เริ่มสงบลง จนเกิด “ช่องว่างทางความคิด” คือ “จิตว่าง” ไม่มีอะไร ไร้ซึ่งความคิดใดๆ เบาสบายสมองและจิตใจ นับว่าสำเร็จขั้นที่หนึ่ง



๑.๒) การฝึกใช้ ใจ (สมอง) ดูจิต

คราวนี้ ให้หลับลงก่อน หลับให้สบายให้สนิท โดยกำหนดจิตว่าจะรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างหลับโดยละเอียดและตลอดลอดฝั่ง แล้วก็ค่อยๆ หลับตาลง ปล่อยให้หลับไปตามปกติ หากเกิดความฝันขึ้น ให้รับรู้ทันทีว่ามีการฝันเกิดขึ้น ภาวะนี้ สมองจะทำการปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง หากตอนกลางวันจำอะไรค้างไว้ ก็จะทำการเคลียร์ออก เช่น ชอบสาวสวยคนหนึ่งแล้วมีเหตุให้ละความสนใจออกไป เกิดสัญญาความจำคั่งค้างในสมอง เรียกว่า “ธาตุแปรปรวน” ตอนกลางคืนก็เก็บสาวสวยมาฝันต่อได้ จนในที่สุด สมองปรับสมดุลเต็มอิ่มครบกระบวนการก็จะละทิ้งสาวสวยรายนี้ไปจนหมดสิ้น เรียกว่าหมดเวรหมดกรรมกันไป (หากไม่เจอกันอีกเลย) เป็นการชำระรอยกรรมรอยเกวียนในความฝัน กระบวนการนี้เป็นการปรับสมดุลของสมองโดยธรรมชาติ จะใช้ชำระกรรมในยามฝันได้เฉพาะกรรมที่เป็นเศษวิบากกรรม หากเป็นการชดใช้กรรมในสมาธิ อาจเห็นเป็นภาพนิมิตเช่นอดีตชาติ ก็จะได้ “ญาณระลึกชาติ” ซึ่งจัดเป็น “อภิญญา” หนึ่งในหกอภิญญา คือ ความรู้อันยิ่งยวดที่คนปกติไม่อาจรู้ได้ขนาดนี้ หากมีปัญญาเห็นว่าเป็นอดีตชาติได้เข้าใจความเป็นมาได้ นับว่าเป็นความรู้อันยิ่งยวด แต่บางครั้งการฝันเป็นการรับรู้สิ่งที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้หรือบางทีก็เป็นไปด้วยกิเลสตัณหาของตนเอง การที่สมองสามารถรับรู้ จดจำ ความฝันได้



และเมื่อตื่นขึ้นมาสามารถเล่าเรื่องราวตลอดจนเข้าใจความหมายต่างๆ ของความฝันได้ เรียกว่า “สมองดูการทำงานของจิต” เป็นแล้ว กล่าวคือ สมองเพิ่งเกิดมาในชาตินี้ จึงไม่มีสัญญาความจำในอดีตชาติแต่อย่างใด แต่บันทึกรอยกรรมในอดีตชาตินั้น รับรู้ได้ด้วยจิต เพราะจิตเป็นผู้รับรู้ถึงกรรมในอดีตชาติ หรือมีญาณสัมผัสอนาคตได้ จิตนั้นจึงสื่อสารบอกสมองทุกวันในยามหลับด้วยการฝัน ซึ่งบางครั้ง จิตไม่ได้ทำงาน สมองเป็นผู้ทำงานจึงฝันขึ้น แล้วจิตไปรับรู้ จากนั้น ก็สั่งงานให้สมองบันทึกความจำไว้ก็มี โปรดเข้าใจว่า “สัญญาขันธ์” ไม่ใช่ “เรา” และเราเป็นจิต เราไม่ใช่ร่างกายนี้ ที่ต้องสลายไปตามอายุขัย แต่เราเป็นจิตที่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้นตราบที่ไม่นิพพาน ดังนั้น เราจึงไม่มีสัญญาขันธ์ เราจึงไม่ใช่ขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่อัตตาที่จะยึดไว้ จิตรับรู้อดีตชาติได้ ไม่ใช่เพราะจิตมีสัญญาขันธ์เป็นของของมัน แต่เพราะจิตเป็นธาตุรู้ที่รับรู้ “กรรมในอดีต” ที่ย้อนกลับมาสู่จิตอีกครั้ง ประดุจดังผู้โยนผลไม้ขึ้นฟ้าย่อมต้องลงลงมาสู่พื้นดินในวันหนึ่ง กรรมเป็นคลื่นพลังงานที่จิตส่งออกไปในอดีตชาติ แล้วเดินทางย้อนกลับมาสู่จุดเดิม เมื่อจิตสัมผัสได้ก็จะถ่ายทอดเรื่องราวผ่านวิธีต่างๆ แก่สมอง ดังนั้น การฝึกใช้ “สมองดูจิต” ที่ง่ายที่สุด คือ การฝึก “ดู, แยกแยะ, ตีความ และตรวจสอบความแม่นยำของความฝัน” นี่เอง



การฝึกใช้สมองดูจิตหรือการฝึกฝันนี้ จำต้องฝึกอย่างละเอียด เช่น เวลาฝันรับรู้ความเจ็บปวดร้อนหนาวได้หรือไม่ หรือรับรู้รสชาติใดๆ ได้หรือไม่ เพราะในยามฝัน ร่างกายไม่ได้ทำงานรับรู้ แต่จิตต่างหากเป็นผู้รับรู้ ดังนั้น ในยามฝัน จึงมีความรู้สึกอร่อยเมื่อฝันว่ากินอาหารได้ เพราะการรับรู้ของจิต ลองสังเกตว่า ระหว่างการจดจำความรู้สึกอร่อยกับความรู้สึกอร่อยในความฝันใช่อย่างเดียวกันหรือไม่ หากเหมือนกันแสดงว่าความรู้สึกอร่อยในความฝันนั้น เป็น “ความจำ” หรือ “สัญญาขันธ์” ที่เก็บไว้ในสมองแล้วผุดขึ้นมายามหลับฝัน แต่หากมีความแตกต่างกัน อาจไม่ใช่ความทรงจำถึงรสชาติอร่อยที่สมองเก็บไว้ อาจเป็นการรับรู้โดยจิต โดยจิตอาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงรับรู้รสชาติของอาหารในฝันนั้นได้ เช่น จิตอาจพุ่งความสนใจไปจดจ่อยังอาหารบางชนิด แล้วดูดซับพลังงานหรือ “อาหารทิพย์” ในอาหารนั้น เพราะว่าจิตเป็นพลังงาน ย่อมมีพลังดึงดูดและผลักพลังงานในรูปแบบต่างๆ ได้ ส่วนการรับรู้รสชาติของอาหารทิพย์ เป็นการรับรู้ด้วยจิตที่แตกต่างจากการรับรู้ทางกาย ให้ฝึกสังเกตแยกแยะให้ได้ จนชัดเจนว่า “ส่วนใดคือการทำงานของสมอง” และ “ส่วนใดคือการทำงานของจิต”



๒. ฝึกแยกแยะจิตและใจ (ขั้นฝึกฌาน)

เมื่อเริ่มเข้าใจว่าความคิดและจิตเป็นคนละส่วนกัน หรือความคิดกับความรู้สึกไม่เหมือนกัน โดยการนั่งสังเกตความคิดจนความคิดดับหมดไม่มีความคิด เหลือแต่อารมณ์ความรู้สึกที่เบาสบายสงบนิ่ง และสังเกตความรู้สึกทางจิตจากการหลับฝัน จนแน่ชัดแล้วว่าจิตมีความรู้สึกและมีลางสังหรณ์ เป็นผู้รู้ ในสิ่งที่ไม่มีในสมอง เพราะสมองเป็นที่เก็บความทรงจำสัญญาขันธ์ต่างๆ ส่วนจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตัดสินใจ สั่งการและก่อกรรมต่างๆ โดยใช้สมองเป็นเหมือนโต๊ะทำงานหรือเรขานุการฉะนั้น ซึ่งเรขานุการนี้ จะเปลี่ยนไปในแต่ละชาติภพ หากตายลงจากคนไปเกิดเป็นแมว ก็จะมีเรขานุการที่มีมันสมองเท่าแมวเท่านั่นเอง จิตแม้นเป็นผู้รู้ มีความอยาก มีการสั่งการ และการกระทำใดๆ ก็ไม่อาจทำได้เท่ากับตอนที่เป็นคน เมื่อคิดได้ถึงขั้นนี้แล้ว จะนำไปสู่การฝึกขั้นต่อไป คือ การดูจิตและใจพร้อมกัน แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นจิตและใจ



ขั้นนี้ผู้ฝึกต้องหัดเข้าฌานจนสำเร็จถึง “ฌานสี่” จากนั้นก็อาศัย “วสี” คือ ความชำนาญในองค์ฌาน คอยนับองค์ฌาน ดูการเกิดและดับของความคิดและจิตใจ ลองใช้สติที่ว่องไวจับดูว่า “จิต” และ “ใจ” อะไรดับก่อนกัน อะไรหยุดทำงานก่อนกัน และเมื่อใจหยุดทำงานแล้ว จิตเดิมแท้ จิตแท้ๆ มีลักษณะการทำงานอย่างไร ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่าง “จิต” และ “ใจ” ได้อย่างชัดเจน ถึงจุดนี้ถือว่าผ่านได้



๒.๑) นั่งสมาธิในท่าที่สบายในสถานที่ที่สงบร่มเย็นชวนให้เผลอหลับ แต่เราจะต้องไม่หลับก่อนที่จะเข้าสู่ฌาน จากนั้น บอกกับตัวเองว่าจะขอพักว่างๆ สักพัก พอออกจากการพักก็จะสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีปัญญาแจ่มใส ร่างกายเต็มเปี่ยมด้วยพลัง

๒.๒) เมื่อนั่งแล้วจะรู้สึกมีเรื่องราวชวนให้เลิกนั่งมากมาย เรียกว่า “ฟุ้งซ่าน” ให้ค่อยๆ จับอารมณ์ “สุขที่ได้นั่งพักสบาย” ที่มีอยู่นี้ไปเรื่อยๆ ไม่หลุด ไม่ออกจากความสุขสบายจากการพักว่างๆ สบายๆ นี้ อะไรจะเกิดก็ช่างมัน จะคิดอะไรก็ไม่ห้าม ปล่อยไป

๒.๓) เมื่อนั่งติดลมไปได้สักพักจะเริ่มกังวลว่าเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ มีเหน็บชาไหม หากมีความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อยที่ใด อย่าขยับ เพราะเราจะเข้าสู่อัปนาสมาธิ เป็นสมาธิขั้นสูงที่ร่างกายจะเหมือนตายแล้ว ให้แผ่ความรู้สึกในร่างกายส่วนนั้น ให้บางเบาลงไป จนหมดความรู้สึกว่ามีกายในส่วนนั้นๆ จนร่างกายทั้งร่างเหมือนไม่มีกายเลย

๒.๔) เมื่อกายหายไปแล้ว บางครั้งความคิดหรือจิตใจยังทำงานอยู่ เหมือนได้ยินเสียงในโสตประสาทตนเองพูดกับตนเองเบาๆ จากนั้นเริ่มเบาลงบ้าง เริ่มรู้สึกว่าเหมือนมีเสียงแต่จับความหมายไม่ได้บ้าง เรียกว่าฟังไม่ได้ศัพท์แล้ว แต่รู้สึกว่ามีอยู่ แบบนี้เข้าสู่ “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” คือ ความรู้สึกเหมือนมีสัญญาความจำได้หมายรู้ แต่ก็เหมือนไม่มี มีเหมือนไม่มีฉะนั้น จากนั้น จะเข้าสู่ภาวะดับหายไปหมด



ให้ลองพิจารณาดูว่าความคิดและจิตใจทำงานอย่างไร จนกระทั่งสิ่งต่างๆ ค่อยๆ ลบหายไปทีละอย่าง หยุดทำงานไปทีละอย่าง จนเหลืออย่างสุดท้ายที่รับรู้ได้ คืออะไร



๓. ฝึกใช้ใจตามรู้ดูจิต (ขั้นเริ่มต้นวิปัสสนา)

การฝึกในลำดับขั้นนี้ เป็นการ “สักแต่ว่าดู” โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่เสริมเติมอันใดทั้งสิ้น จิตนั้นมีแปรเปลี่ยน จากกุศลจิต (จิตดี) ดับไป เกิด อกุศลจิต (จิตเลว) สลับกันไป ไม่ต้องห้าม ไม่ต้องยื้อ ไม่ต้องออกกำลังป้องกัน ให้ตามรู้ดูจิตอย่างเดียว ขั้นนี้ให้ทำเพียงเท่านี้ สิ่งที่ได้คือ “การเจริญสติ” สติจะแก่กล้าเป็นอินทรีย์ที่กล้าแกร่งขึ้น สติจะไวมีความเท่าทันการเกิดดับของจิตตนเอง มีความเร็วและละเอียด เห็นจิตของตนเองที่เกิดดับไปอย่างละเอียดและรวดเร็วว่องไว เมื่อดูจนคล่องแล้ว ให้เพิ่มปัญญาเข้าไปในสติทุกครั้งที่ดู (จำต้องดูตลอดเวลาทั้งวัน แต่ไม่ต้องนั่งสมาธิหลับตา) ดังนี้



๓.๑) ดูแค่คิดอะไรรู้สึกอะไร แล้วเรื่องนั้น “หยุดลง ดับลง” หยุดเมื่อไรให้รู้ทันทีว่าหยุด ให้รู้ว่าเรื่องที่คิด หรือความรู้สึกนั้นๆ ดับลงไปแล้ว รู้ทันทีที่ดับหายให้เร็วๆ

๓.๒) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “กุศลจิต หรือ อกุศลจิต” ดูให้เห็นว่าจิตกุศลเกิดแล้วเมื่อไร ดับลงเมื่อไร มีจิตอกุศลเกิดเมื่อไร ดับลงเมื่อไร รู้ให้ทัน

๓.๓) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “อกุศลจิต ประเภทใด” ในสามประเภทนี้ คือ โลภะ, โทสะ, โมหะ (โลภะมีเรื่องกามเข้าไปรวมด้วย) ดูให้รู้ทันประเภทจิต

๓.๔) ดูแล้วแยกแยะให้ออก ว่าจิตเรานั้นเป็น “จิตประเภทใดใน ๑๒๑ ดวง” สามารถระบุจำแนกประเภทได้ทันทีที่จิตเกิดขึ้นแล้วดับลงก็รู้เท่าทันจนรู้จักจิตทั้ง ๑๒๑ ดวง

๓.๕) ดูจิตในจิตตนเอง แล้วดูทั้งในและนอกแยกเป็น “รูป-นาม” รูปคือ “นอก” นามคือ “ใน” ไม่สุดโต่งติดแต่ภายใน และไม่มัวหลงแต่ภายนอก ดูจิตทั้งนอกและใน เมื่อเห็นรูปแล้วเกิดนามใด (นอกกระตุ้นจิตอะไรเกิด) แล้วเมื่อใดนามดับ ดับเพราะอะไร



การดูจิตทั้งห้าขั้นนี้ จะเริ่มจากง่ายที่สุด เรียงลำดับไปสู่ยากที่สุด เมื่อเข้าสู่การดูจิตอย่างเต็มรูปแบบ จำต้องนั่งสมาธิ เพื่อดูจิตให้ครบ ๑๒๑ ประเภท ซึ่งบางประเภทจะมีเฉพาะตอนนั่งเข้าฌานเท่านั้น อีกทั้งบางประเภทจำต้องบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปจึงเห็นได้อีกด้วย ดังนี้ จึงมักดูไม่ครบ ๑๒๑ ดวง อนุโลมให้ดูจิตแบบย่อได้ จากนั้นเข้าสู่จุดสูงที่สุดของการดูจิต คือ การดูจิตแบบ “พลวัตร” หรือ “ธรรมจักร” คือ ไม่ดูแบบนิ่งแช่ในตัวเองอย่างเดียวโดยไม่สนใจอะไรรอบตัวในโลกก็หาไม่ แต่ให้ดู “นอก-ใน” แยกเป็น “รูปนาม” เห็น “รูปนาม” เกิดดับสลับกันจนคล่อง จนชำนาญดี ก็ผ่านขั้นนี้



๔. ฝึกจิตให้มีกำลังเหนือใจ (ขั้นสมถะเสริมวิปัสสนา)

ขั้นนี้จะเริ่มกำหนดจิตด้วยคำ “บริกรรม” หรือใช้ “ธรรมนำจิต” คือ เริ่มเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เริ่มเข้าสู่ “ธรรมานุสติปัฏฐาน” ขั้นต้นแล้ว ในระยะที่ผ่านมาทั้งหมด ไม่มีการกำหนดจิตเลย เพียงแต่ดูจิต ปล่อยจิต รู้เท่าทันจิตเท่านั้น จิตจึงมีอินทรีย์กล้าแกร่งขึ้นคือ “สติ” และตามด้วย “สมาธิ” ในช่วงฝึกฌาน ต่อไปนี้จะเพิ่มกำลังจิต คือ กำลัง “สมาธิ” ให้มากขึ้น ด้วยการกำหนดจิตนำทางก่อนที่จะปล่อยจิตไปเฉยๆ อย่างที่ผ่านมา เป็นการซักซ้อมก่อนเข้าสู่การต่อสู้กับใจของตนเองเพื่อเอาชนะกิเลส ให้พิจารณาเลือกวิธีกำหนดจิตตามแบบใดแบบหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คือ



๔.๑) “มรณานุสติ” คือ การพิจารณาเสมอว่ามีความตายเกิดขึ้นได้ทุกวินาที ก่อนที่จิตจะระลึกไปถึงอะไร ก็ระลึกความตายนั้นก่อนเสมอ เช่น เห็นคนสวย คิดถึงความตายก่อนทันที ที่จิตจะระลึกนึกถึงเรื่อง “กาม” ทำอย่างนี้ในทุกสรรพสิ่ง แต่จะต้องวางจิตเป็นกลางอุเบกขา ไม่รู้สึกลบต่อความตาย หากรู้สึกลบต่อความตาย จิตจะตกและห่อเหี่ยวมีอาการทางจิต เป็นโรคจิตซึมเศร้าและอยากฆ่าตัวตายได้ เมื่อชำนาญดีแล้ว ถือว่าฝึกจิตสำเร็จก็ต่อเมื่อทุกครั้งที่เห็นอะไร “ระลึกความตายได้ก่อนเสมอ” จนในที่สุด จิตเกิดกำลัง “สมถะ” สามารถข่มกิเลสกำราบได้ราบคาบทุกชนิด



๔.๒) “ธรรมานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “ไตรลักษณ์” ได้แก่ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา ก่อนที่จิตจะแล่นไปเรื่องใดๆ ก่อนที่จะเกิดกิเลสใดๆ ก็ตาม ให้ระลึกถึงธรรมข้อนี้ก่อนเสมอ อาจกำหนดเป็นคำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” ตามการเคลื่อนไหวท้องน้อยตามลมหายใจเข้าออกก็ได้ ทำตลอดทั้งวัน อย่าเผลอหลุดให้จิตเกิดกิเลสก่อน ให้ระลึกถึง “ยุบหนอ พองหนอ” ได้ก่อน จนจิตมีกำลังสมถะสูง ข่มกำราบกิเลสทุกชนิดได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดกิเลส “ยุบหนอ พองหนอ” เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง



๔.๓) “กรรมานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “กรรม” ก่อนที่จะเกิดความคิดหรือความรู้สึกอื่นใดเสมอ เพราะสรรพสิ่งย่อมมีสาเหตุก่อนเกิดผล และสาเหตุนั้นก็ล้วนมาจากกรรมทั้งสิ้น อาจใช้คำบริกรรมระลึกในใจอยู่เสมอว่า “กรรมหนอๆ” หรือ “เวรกรรมๆ” พูดซ้ำๆ จนจิตคลายอารมณ์ที่ดำเนินอยู่ หากจิตจะตรึกเรื่องกาม ก็ “เวรกรรมๆ” พูดซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนจิตคลายการตรึกนึกถึงเรื่องกามในที่สุด สามารถใช้กำลังสมถะที่กล้าแกร่งนี้ข่มกำราบกิเลสได้ทุกชนิด ก็ถือว่าสำเร็จขั้นสูงสุดของการใช้คำบริกรรมนี้



๔.๔) “พุทธานุสติ” คือ ให้ระลึกถึง “พระพุทธเจ้า” หรือ “พระธรรม” เป็นอารมณ์ ไม่ให้จิตหลุดออกไปสู่อย่างอื่นเลย เพราะเราจะเดินตามแนวทางของพระพุทธเจ้า แบบนี้เหมาะกับคนที่มีปัญญาอยู่แล้ว หรือมีวิริยะมาก แต่ไม่เหมาะกับศรัทธาจริต เพราะจะส่งผลให้เกิดการยึดติดพระพุทธเจ้าแทน (แต่ก็สามารถทำได้) ให้บริกรรมในใจ “พุทธโธ” ตามลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา ลมหายใจเข้า “พุทธ” ลมหายใจออก “โธ” หรือใช้บทสวดพระนามพระพุทธเจ้าบางพระองค์ก็ได้ เช่น “อมิตาพุทธ” หรือ “นำโม อานีทอฝอ” จนจิตคลายจากกิเลส สำรอกได้ทุกชนิด นับว่าทำสำเร็จ



๔.๕) “สุญญตานุสติ” คือ ให้ระลึกถึงสรรพสิ่ง “ว่าง” ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารจะให้ยึดมั่นถือมั่น สรรพสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนไป ไม่รู้จะยึดมั่นอะไรเป็นหลักได้ สรรพสิ่งล้วนแยกย่อยกลายเป็นเหมือนทรายกองเดียวกัน จนในที่สุดละเอียดจนไม่เหลืออะไรเป็นตัวเป็นตน คือ “สูญสิ้นไป” จิตระลึกถึงสรรพสิ่งล้นเป็นมายาว่างไม่มีสาระแนสารแห่งการยึดมั่นนี้ เกิดขึ้นจนกล้าแกร่งกำราบกิเลสได้ทุกชนิดแล้ว ถือว่าผ่านด่านนี้ได้



การฝึกจิตจนสำเร็จขั้นนี้เรียกว่าสำเร็จ “เจโตวิมุติ” คือ ฝึกจิตจนมีกำลังกำราบกิเลสได้หมดชั่วคราว แต่ยังไม่มี “ดวงตาเห็นธรรม” ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง เรียกได้ว่า “บู๊” สูงสุดแล้ว ยังขาด “บุ๋น” เท่านั้นเอง ขออธิบายว่า “เจโตวิมุติ” ในที่นี้ ไม่ใช่พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติ แต่ใช้หมายถึง “การบรรลุสมถะขั้นสูง” กล่าวคือ “วิมุติ” หมายถึงการหลุดพ้นหรือบรรลุ ส่วน “เจโต” หมายถึงพลังจิตขั้นสูง ไม่ใช่พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติแต่อย่างใด กรณี พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุตินั้น นอกจากจะบรรลุเจโตวิมุติแบบนี้แล้ว ยังจะต้องใช้ “ปัญญา” รู้แจ้งแทงตลอดถึงสรรพสิ่งด้วยตนเอง จนมี “ดวงตาเห็นธรรม” เรียกว่า “อ๋อ แป๊งแว้บ” ด้วยตนเองนั่นเอง เรียกว่าใช้ปัญญาเพื่อความวิมุติ เป็น “ปัญญาวิมุติ” ในลำดับสุดท้าย แต่ได้เจโตวิมุติก่อน จึงจัดเป็นพระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุติ นั่นเอง ขอให้เข้าใจตามความหมายนี้ด้วย



๕. ฝึกใช้พลังจิตเอาชนะใจ (ขั้นประหารกิเลส/สมุทรเฉทประหาร)

ขั้นก่อนหน้านี้เป็นการกำราบกิเลสเพียงแค่ชั่วขณะเท่านั้น ไม่ใช่การขุดลอกสันดอนกิเลสให้สิ้นไป จึงเป็นการใช้กำลังสมถะข่มกำราบกิเลสเพียงชั่วคราวไม่ถาวร ขั้นต่อไปนี้ จะเป็นการเอาชนะกิเลสโดยสิ้นเชิง คือ ด่านประตูอรหันต์นั่นเอง ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ใช้เวลาไม่นาน การบรรลุธรรมจะใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีทองเท่านั้น ไม่ได้ใช้การยืดเยื้อแต่ประการใด เสมือนประกายไฟจากฟ้าผ่า แว่บเดียวเท่านั้นก็สามารถบรรลุได้ทันที ไม่มีลักษณะของการค่อยๆ บรรลุแต่อย่างใด แต่ก่อนจะเข้าสู่ช่วงบรรลุธรรมนั้น จะผ่านด่านต่างๆ และวิธีการฝึกจิตต่างๆ ก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจบรรลุในทันทีที่เริ่มทำได้ จำต้องทำแล้วรอจังหวะวินาทีทองนั้น หากจังหวะวินาทีทองมาถึง และทำได้สำเร็จก็สามารถบรรลุได้ทันที โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้



๕.๑) ดูจิตดับในขณะเข้าฌานนั่งสมาธิ

ให้นั่งสมาธิเข้าฌาน แล้วดูการดับไปของจิตทุกดวง ก่อนเข้าสู่ “ฌานสี่” ช่วงรอยต่อองค์ฌานระหว่างฌานสามเข้าฌานสี่ เป็น “เสี้ยววินาทีบรรลุธรรม” ในแบบ “อนุโลมญาณ” คือ เดินเข้าสู่องค์ฌานไปข้างหน้า จากฌานหนึ่งไปถึงฌานสี่ หากสติไวพอเห็นการดับไปของจิตก่อนเข้าสู่ฌานสี่ได้ ปัญญาสว่างไสวขึ้นมาก็บรรลุทันที การจะบรรลุธรรมได้ในขณะเข้าสมาธินี้นับว่าต้องมี “วสี” คือ ความชำนาญในองค์ฌานสูงมาก จำต้องมีสติไวมากที่จะเห็นการเกิดดับของจิตก่อนเข้าสู่ฌานสี่ ต้องฝึกเข้าหน้าถอยหลังระหว่างองค์ฌานสามและสี่ อนุโลม ปฏิโลมอยู่อย่างนั้นเอง กลับไปกลับมาอยู่เช่นนั้น สำหรับผู้ที่ชำนาญในฌานแล้ว ก็สามารถบรรลุธรรมได้โดยง่าย แต่หากไม่เก่งในการเข้าฌานจำต้องใช้เคล็ด “วิปัสสนาลืมตา” ดังที่จะอธิบายต่อไป



๕.๒) ดูจิตดับขณะวิปัสสนาลืมตา

เวลาทำงานลืมตาทำอะไรให้ทำซ้ำๆ กัน จนสมองจดจำกระบวนการทำงานแล้วตั้งโปรแกรมอัตโนมัติ ในที่สุดสมองก็จะหยุดพักการสั่งงาน ความคิด ความจำ จะดับไปก่อน จากนั้น จิตผู้รู้ ผู้รับความรู้สึกเวทนาสุขทุกข์ ก็จะดับไปด้วย เป็น “อขมทุกข์อขมสุข” คือ ภาวะที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขทั้งสองอย่างเลย ถึงตอนนี้ความคิดความรู้สึกใดๆ จะดับไปด้วย เมื่อว่างเป็น “สุญญาตา” แล้วได้สติ ก็แป๊งแว้บบรรลุแบบฉับพลันได้ทันที การบรรลุแบบนี้เป็นการบรรลุโดยวิปัสสนาลืมตาแบบเซน เวลาทำงานให้ทำงานที่มีกระบวนการทำงานซ้ำๆ เช่น กวาดลานวัด, ขัดพื้นวัด, ดำนา, กระแทกหูกทอผ้า, ตำน้ำพริก, ปั่นจักรยาน ฯลฯ นี่คือ เสี้ยววินาทีที่จะบรรลุธรรมทั้งสิ้น



เมื่อฝึกจิตจนสำเร็จขั้นนี้ เรียกว่า “บรรลุอรหันต์” เป็นการบรรลุการฝึกจิตสูงสุดทางพระพุทธศาสนาสำหรับสาวกภูมิทั่วไป ถือได้ว่าเป็น “อเสขบุคคล” คือ บุคคลที่จบการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ไม่ต้องศึกษาอีกก็ได้ แต่ในบทความนี้ จะกล่าวถึงการฝึกจิตขั้นต่อๆ ไป ซึ่งเป็นแนวทางของ “พุทธภูมิ” นั่นคือการฝึกจิตเพื่อบำเพ็ญบารมีนั่นเอง



๖. ฝึกใช้พลังจิตนำทางใจ (ขั้นประยุกต์ใช้/ปฏิเวธ)

เมื่อจิตเห็นแจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่งแล้ว มีธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมเปิดแล้ว สิ่งที่จะฝึกต่อไปคือ “ฝึกจิตรู้” ให้รู้เรื่องอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ณ จุดนี้ จิตรู้แจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่งจึงปราศจากทุกข์ทางใจอีก จิตเป็นอิสรภาพจากใจอย่างเต็มที่ มีสุขเต็มสมบูรณ์ เราจะใช้จิตและฝึกจิตเพื่อให้เกิด “ปัญญาบารมี” เพิ่มมากขึ้น เพราะการมีดวงตาเห็นธรรมนี้ เป็นเพียงการบรรลุ “อรหันตสาวก” ยังไม่ได้ “สัพพัญญูญาณ” คือ ไม่ใช่ผู้รู้ทุกสิ่ง แต่เราจะบำเพ็ญเพียรเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ต่อไป (กรณีไม่ห่มเหลือง) ดังนั้น เราจึงจะมาฝึก “จิตผู้รู้” ให้มีความรู้กว้างขวางและยาวไกลละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มปัญญาบารมี และจะทำให้ได้ปัญญาไปช่วยเหลือผู้คน ดังนี้



๖.๑) การฝึกลำดับเหตุผลต้นกรรม ย้อนไปข้างหลังและเดินไปหน้า เพื่อสืบสาวดูสาเหตุรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา และพิจารณาประเมินผลถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ทำนาย) จนสามารถหาทางแก้ปัญหาได้ เรียกว่าการหาแนวทางแก้ไข

๖.๒) การฝึกจิตรู้ใจผู้อื่น ให้ฝึกจิตเพื่ออ่านความคิดหรือจิตใจของผู้ที่เราต้องการทราบ จำต้องแยกแยะให้ออกว่าคนดีคนเลวแตกต่างกันอย่างไร โดยไม่ได้ดูเพียงเปลือกนอก แต่ดูลึกเข้าไปข้างในจิตที่แท้จริง ก็จะสามารถจัดกำลังคนได้ถูกต้อง

๖.๓) การฝึกจิตนำใจผู้อื่น หรือ “การสะกดจิตผู้อื่น” นั่นเอง เป็นการใช้พลังจิตที่ฝึกดีแล้วเพื่อให้ผู้อื่นทำตามใจตน หรือคล้อยตามสิ่งที่ตนต้องการให้ทำ เมื่อฝึกจิตได้สำเร็จถึงขั้นนี้ จะมีความสามารถเป็นผู้นำ มีบริวาร สามารถทำงานใหญ่ได้



๗. ฝึกประสานจิตใจเป็นหนึ่ง (ขั้นหลอมรวมสู่การบำเพ็ญบารมี)

ขั้นตอนนี้เป็น “ศิลปะขั้นสูง - ไร้ลักษณ์” ไม่มีถูกหรือผิด แตกต่างไปตามแต่แนวทางของแต่ละคน ให้ศึกษาแนวทางได้เอง จากพระอรหันต์ที่ช่วยเหลือมวลมนุษย์มาเป็นแบบอย่าง ว่าท่านได้ผสมผสานจิตใจหลอมรวมเพื่อช่วยเหลือผู้คนได้อย่างไร โดยเข้าหาสังคม เพื่อยื่นมือเข้าช่วยเหลือสังคม พัฒนาจนได้แบบของตนเอง สูงสุดของขั้นนี้คือ “ยูไล” คือการตั้งปณิธานหมุนกงล้อธรรมให้สำเร็จได้ในชาตินั้นๆ นั่นเอง



สรุปลำดับการฝึกจิตานุสติปัฏฐาน ๗ ขั้น

๑. ฝึกดูจิตและใจ (ฝึกเป็นนักฝันอย่างมีสติ)

๒. ฝึกแยกแยะจิตและใจ (ฝึกนั่งสมาธิเข้าฌาน)

๓. ฝึกใช้ใจตามดูจิต (ฝึกวิปัสสนาขั้นต้น)

๔. ฝึกให้จิตมีกำลังเหนือใจ (ฝึกใช้สมถะเสริมวิปัสสนา)

๕. การใช้พลังจิตเอาชนะใจ (ใช้ประหารกิเลส - บรรลุ)

๖. ฝึกใช้พลังจิตนำทางใจ (ขั้นประยุกต์ใช้ - ปฏิเวธ)

๗. ฝึกประสานจิตใจเป็นหนึ่ง (ขั้นการบำเพ็ญบารมี)

โดย physigmund_foid"

โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ ลดความอ้วนกับ อ้วน.คอม

โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ ลดความอ้วนกับ อ้วน.คอม: "โรคอ้วนแก้ไขอย่างไร ในวิถีพุทธ
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2009 »

ปุจฉา : โรคอ้วนระบาดมากในสังคมปัจจุบันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นไปทั้งชาย-หญิง จึงใคร่ขอหลักธรรมเพื่อประกอบการปฏิบัติ ในการเอาชนะโรคอ้วนในหมู่ชาวไทย และอยากจะเชิญชวนทุกๆ คน ช่วยกันรณรงค์ลดความอ้วน โดยถือฤกษ์ในวันที่ ๒ เมษายน นี้ เป็นวันประกาศเอาชนะโรคอ้วน
จึงขอพระคุณเจ้าช่วยให้อนุสติธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกๆ คนที่ต้องการออกจากโรคอ้วน นมัสการมาด้วยความเคารพ
จาก ผู้ (ไม่) หวังดีต่อโรคอ้วน
วิสัชนา : เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑ อาตมาได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรม ณ โรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีการจัดอบรมในเรื่อง ความสุขโดยองค์รวม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพกาย-จิตที่ดีด้วยการวางหลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ การบริหารร่างกายที่ สม่ำเสมอ และการพัฒนาจิตสู่ความเข้มแข็ง
ในส่วนของอาตมา ได้กล่าวบรรยายธรรมให้คณะผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบถึงระเบียบวินัย ข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงวางระเบียบจัดระบบการพัฒนากาย-จิต โดยทรงมุ่งเน้นความมีประโยชน์เพื่อการปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทโดยเฉพาะพระสงฆ์สาวกได้รู้จักการกินอยู่หลับนอนอย่างถูกสุขอนามัยโดยธรรม บนวิถีความสันโดษและมักน้อยในฐานะสมณสารูป
ตามหลักการที่พระสงฆ์จะต้องพัฒนากาย-จิต ไปสู่ประโยชน์ตามลำดับ จนถึงซึ่งจุดหมายสูงสุดของการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาคือ ความสิ้นทุกข์ หรือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านสาธุชนพึงควรสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากปุจฉาของวันนี้ซึ่งต้องการเอาชนะโรคอ้วนว่า จะมีแนววิธีปฏิบัติอย่างไรในพระพุทธศาสนา...
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตในวิถีพุทธ ท่านทั้งหลายจึงควรเรียนรู้หลักธรรมปฏิบัติของ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ตามพุทธบัญญัติที่ว่าด้วยนิสัย ๔ ของพระสงฆ์ ที่ต้องประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือ ๑.บิณฑบาต ๒.กวาดลานวัด ๓.ดื่มน้ำมูตร ๔.อยู่โคนต้นไม้
หากจะขยายความในการบิณฑบาตนั้น มีความหมายลึกซึ้งมากในคุณประโยชน์ นอกเหนือจากการไปขอภัตตาหารจากชาวบ้าน แล้ว ยังมีความหมายถึงการสร้างนิสัยของพระสงฆ์อันเป็นข้อวัตร ที่ต้องปฏิบัติ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบิณฑบาต ด้วยพระองค์เองเพื่อโปรดสัตวโลกทั้งหลายอย่างเป็นปกติที่เรียกว่า บิณฑจาริกวัตร อันสืบทอดต่อเนื่องในวงศ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์ และสืบเนื่องถึงพระสงฆ์สาวกทั้งหลายซึ่งหากมองอย่างผิวๆ
โดยทั่วไปดุจเป็นการไปขอ หรือภิกขาจารแต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นความเมตตากรุณาเพื่อให้เกิดกระบวนการให้ทาน อันทำให้เกิดบุญกุศลแก่ศรัทธาสาธุชนทั้งหลาย เพราะพระสงฆ์มีกำลังศีลกำลังธรรมอันควรแก่การเป็นที่พึ่งของบุคคลทั้งหลายจึงเป็นความเมตตากรุณาต่อเวไนยสัตว์ และสำคัญอย่างยิ่งยังเป็นการพัฒนากาย-จิตควบคู่กันไป โดยอำนาจแห่งธรรมที่ต้องเจริญอยู่ตลอดเวลาทั้งสติ สัมปชัญญะ และปัญญาธรรม อีกทั้งในยามเช้าอากาศบริสุทธิ์ได้เดินออกกำลังกายด้วยการเจริญสติทั้งไปและกลับ จึงเป็นการพัฒนาสุขภาพกาย-จิตที่ได้ผลยิ่งนักโดยเฉพาะเมตตากรุณาที่เพิ่มพูนขึ้น ในจิตใจ
นอกเหนือจากเจตนาธรรมเพื่อเกื้อกูลสัตวโลกให้ได้รับผลบุญกุศล จากการถวายภัตรหรือใส่บาตรพระสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ขบฉันเสร็จเรียบร้อยก็จะต้องล้างบาตร เช็ดบาตร ผึ่งบาตร จัดเก็บบาตรให้เรียบร้อยและถูกสุขอนามัยอย่างดี มีที่วางบาตร มีถุงบาตร ทุกๆ อย่างต้องสะอาดโดยปกติและต้องทำอย่างมีสติทุกขั้นตอน เสร็จกิจแล้วจึงออกกำลังกายโดยการกวาดลานวัด เช็ดถูศาลาเสนาสนะทั้งหลาย แบ่งกันกิน-ร่วมกันทำ-อยู่กันด้วยความเคารพ... และมุ่งเน้นความสามัคคีในหมู่คณะตามวิถีหลักแห่งธรรมที่ว่า คารโว จ นิวาโต จ สันตุฎฐี จ กตัญญุตา ซึ่งนี่คือความเป็นมงคลในพระพุทธศาสนาที่จะสำเร็จเกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยการปฏิบัติ หรือพูดกันให้สั้นๆ แบบภาษาชาวบ้านว่า กิน กวาด เก็บ เกื้อกูล โดยธรรม นั่นเป็นกิจกรรมที่ควรยิ่งที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัยของสมณะหรือฆราวาสธรรม ทั้งหลาย
และหากมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนก็จะมีเภสัชโดยธรรมชาติบำบัด มุ่งเน้นการสร้างภูมิต้านทาน (Anti-body) ได้แก่ การดื่มน้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตรซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แม้แต่ใน วงการแพทย์ก็ยังนำมาใช้แนะนำในการบำบัดแก่ผู้ป่วยเพื่อซ่อมแซมสุขภาพกายรักษาสุขภาพจิต ที่สำคัญยิ่งก็คือการพัฒนาชีวิตให้ไปสู่ความบริสุทธิ์ด้วยการพัฒนาจิตสู่วิถีสัจธรรม พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติว่าต้องอยู่โคนต้นไม้ นั่นหมายถึง การมุ่งเจริญภาวนาสติ ปัฏฐานสี่อย่างต่อเนื่อง ใช้หลักเมื่อกายพร้อมจิตพร้อมก็จะสามารถพัฒนาการน้อม โน้ม โอน สู่ธรรมกระแสได้ทุกเวลา เพื่อการแทงตลอดในธรรม
ด้วยเหตุนี้ ความหมายของการเจริญอยู่โคนต้นไม้ จึงมุ่งเน้น การอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อเกื้อกูลต่อการเจริญภาวนาให้สามารถเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่ปัญญาญาณ กล่าวโดยย่อว่า “อยู่โคนไม้” ซึ่งมุ่งเน้นการสันโดษ-มักน้อยอันเป็นหัวใจในการสร้างนิสัยทุกๆ อย่างที่ต้องนำมาใช้ประโยชน์นั้นแค่พอเหมาะ ไม่มากและไม่ถึงกับน้อยเกินไป พระสงฆ์จะขบฉันมื้อเดียว ที่นั่งเดียว
ตามข้อวัตรธุดงค์สำหรับพระกรรมฐาน ซึ่งมีการดำรงตนเพื่อต้องการประโยชน์โดยธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์ตามมโนปณิธานในการเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แม้เครื่องนุ่งห่มก็จะมักน้อยใช้เพียงแค่ไตรจีวรหรือผ้าสามผืนเท่านั้น



อ้วน.com ขอขอบคุณ - โพสต์ทูเดย์"

ขยับกาย สบายชีวี ด้วยวิถีพุทธ

ขยับกาย สบายชีวี ด้วยวิถีพุทธ: "สมาธิ คือ อาการใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรืออาการใจหยุดนิ่งแน่วแน่ไม่ซัดส่ายไปมา มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติ

จริงหรือที่ สมาธิ สามารถบำบัดโรคได้ ?

ศาสตร์ใหม่แห่งการบริหารกายวิถีพุทธ

“บริหารกายวิถีพุทธ” เป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่ใช้หลักในการจัดระเบียบของกายจนเป็นระบบของความคิด เพื่อให้กายซึ่งเป็นที่อยู่ของจิตโปร่งโล่ง เบา สบาย ผ่อนคลาย ก่อนที่จะขับเคลื่อนจิตภายในกายไปตามจุดเคลื่อนต่างๆ เพื่อให้เกิดตัวรู้ และพลังปราณภายในกาย ศาสตร์แห่งการบริหารกายวิถีพุทธนี้ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเพศ และทุกวัย

การเผยแพร่ศาสตร์ดังกล่าว ดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปีและในปี 2550 มูลนิธิธรรมอิสระ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการสร้างเครือข่ายบริหารกายวิถีพุทธ โดยการอบรมคณะครูและนักเรียนตัวแทนจากทั่วประเทศ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ให้ได้เรียนรู้และฝึกภาคปฏิบัติกระบวนการ บริหารกายวิถีพุทธ เพื่อสร้างแกนนำภายในโรงเรียน สามารถเป็นต้นแบบที่ถูกต้อง และเผยแพร่ไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป

หลักวิชาบริหารกายวิถีพุทธ รังสรรค์โดย 'หลวงปู่พุทธะอิสระ' วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งขณะธุดงค์อยู่ในป่าและถ้ำ ได้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นกับท่าน เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก สายตาฝ้าฟาง มีลมออกตา โรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ท่านจึงได้ใช้ท่าทางต่างๆ ผนวกกับการเจริญสติในการรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น ซึ่งนอกจากจะบรรเทาจากโรคต่าง ๆ ได้ดีแล้ว ยังทำให้สติตั้งมั่นอยู่ได้นานอีกด้วย ซึ่งแต่เดิมหลวงปู่ไม่ได้คิดจะถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ผู้ใด เพราะคิดว่าผู้อื่นอาจเข้าใจตามได้ยาก แต่เมื่อญาติโยมไปขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาสุขภาพบ่อยขึ้น มากขึ้นเรื่อย ๆ ท่านจึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะถ่ายทอดวิชาให้ เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถสร้างสุขภาพอนามัยให้แก่ตัวเองได้ โดยในเบื้องต้น ท่านได้ถ่ายทอดท่านั่ง 11 ท่า ให้พิสูจน์กันด้วยตนเอง ซึ่งหากจะให้เกิดผลดังกล่าวมาข้างต้น จะต้องฝึกฝนให้ได้อย่างคล่องแคล่วลื่นไหลติดต่อกันทุกท่าจนรวมเป็นหนึ่งท่า

วิชากายบริหารวิถีพุทธ เป็นการฝึกสติขั้นพื้นฐานในรูปแบบการบริหารกายที่ควบคู่ไปกับการบริหารจิตด้วยศาสตร์และศิลป์ มีทั้งสิ้น 84 ท่า ใน 4 อิริยาบถ คือ นั่ง ยืน เดิน นอน แต่ละท่าเน้นการบริหารลมหายใจเข้าออกพร้อมการบริหารโครงสร้างทุกระบบของร่างกาย ทั้งที่เป็นกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ระบบการไหลเวียนโลหิต และอื่น ๆ


เพื่อสุขภาวะแบบองค์รวม

นายวิวัฒน์ วิกรานตโนรต ประธานแผนส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ให้การสนับสนุนโครงการ “ขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ” ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิธรรมอิสระ มากว่า 4 ปี เนื่องจากโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจหลักของสสส.ที่ต้องการสนับสนุนและพัฒนากระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะของประชาชนและสังคมไทย นอกจากนั้น ยังเป็นศาสตร์การออกกำลังกายแขนงใหม่ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเพศ ทุกวัย และเสียค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบกับการออกกำลังกายชนิดอื่นๆ ซึ่งเหมาะกับสภาพสังคมและภาวะเศรษฐกิจทุกวันนี้ และยังเป็นการดำเนินรอยตามกระแสพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้อีกทางหนึ่ง

ประธานแผนส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กล่าวต่อว่า หลังจากที่ สสส. และ มูลนิธิธรรมอิสระ รวมทั้งเครือข่ายอื่นๆ ในโครงการฯ ประสบความสำเร็จกับการจัดประกวดโครงการ “ขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ” เฟ้นหาพรีเซ็นเตอร์ของโครงการ เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ ได้หันมาออกกำลังกายแนวใหม่ที่เรียกว่า “บริหารกายวิถีพุทธ” มาแล้ว ก็มาถึงโครงการต่อเนื่องในปี 2550 ที่เราเปิดตัวในวันนี้ โดยใช้ชื่อว่า “โครงการสร้างเครือข่ายการบริหารกายวิถีพุทธ”

“เราได้ขยายมาสร้างเครือข่ายการบริหารกายวิถีพุทธ ด้วยการเปิดอบรมคณะครู อาจารย์ นักเรียน ทำหน้าที่เป็นแกนนำในสถานศึกษาเพื่อเผยแพร่ศาสตร์แห่งการออกกำลังกายแนวใหม่ที่อิงวิถีพุทธ รวมถึงอบรมความรู้และวิธีการออกกำลังกายให้แก่ประชาชนผู้รักสุขภาพ โดยจะเป็นต้นแบบที่ถูกต้องในการถ่ายทอดการออกกำลังกายแนวใหม่ให้แก่ประชาชนในชุมชนของตนเองต่อไป” นายวิวัฒน์ กล่าว


ความน่าสนใจของศาสตร์บริหารกายวิถีพุทธ

ด้าน นายจิโรจน์ ทีปกานนท์ รองประธานมูลนิธิธรรมอิสระ แกนหลักในการเผยแพร่ศาสตร์แห่งการออกกำลังกายแนวใหม่ที่อิงวิถีพุทธมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการออกกำลังกายที่เรียกว่า “บริหารกายวิถีพุทธ” เริ่มจากการรังสรรค์ของ พระสุวิทย์ ธีรธัมโม หรือหลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม มีด้วยกัน 84 ท่า รวมอยู่ใน 4 อิริยาบถหลัก คือ นั่ง ยืน เดิน นอน แต่ในเบื้องต้นได้มีการถ่ายทอดไว้เพียง 11 ท่าในอิริยาบถนั่ง แต่ละท่าเน้นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไปพร้อมๆ กับการฝึกสมาธิขั้นพื้นฐาน หรือกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

“ขณะที่ หลวงปู่พุทธะอิสระ ธุดงค์อยู่ในป่าและถ้ำ ได้เกิดอาการเจ็บป่วยหลายๆ อย่างพร้อมกันทั้ง หลอดลมอักเสบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก สายตาฝ้าฟาง มีลมออกตา โรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้ออักเสบ หลวงปู่จึงได้ใช้ท่าทางต่างๆ ผนวกกับการเจริญสติในการรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น ซึ่งนอกจากจะบรรเทาจากโรคต่างๆ ได้ดีแล้ว ยังทำให้สติตั้งมั่นอยู่ได้นานอีกด้วย”

รองประธานมูลนิธิธรรมอิสระ กล่าวต่อว่า แต่เดิมหลวงปู่ไม่ได้คิดจะถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ผู้ใด เพราะคิดว่าผู้อื่นอาจเข้าใจตามได้ยาก แต่เมื่อญาติโยมไปขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ หลวงปู่จึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะถ่ายทอดวิชาให้ เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถสร้างสุขภาพอนามัยให้กับตัวเองได้ ซึ่งในเบื้องต้นได้ถ่ายทอดท่านั่ง 11 ท่า ให้พิสูจน์กันด้วยตนเอง ซึ่งหากจะให้เกิดผลดังกล่าวมาข้างต้น จะต้องฝึกฝนให้ได้อย่างคล่องแคล่วลื่นไหลติดต่อกันทุกท่าจนรวมเป็นหนึ่งท่า

“เป็นการฝึกตนเองให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิต ปรับสภาพภายในกายให้เกิดความพอดี เกิดพลังทางกาย พลังทางจิต สร้างสุขภาวะในลักษณะที่เป็นองค์รวม ทั้งกาย จิต วิญญาณ คือสภาวะของความรู้สึกสงบ นิ่ง มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสุข มีสภาพร่างกายที่ผ่อนคลาย เบาสบาย อวัยวะต่างๆ แข็งแรง เป็นผลให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นายจิโรจน์ เล่าให้ฟัง




หลักสูตรการฝึกอบรม

“โครงการสร้างเครือข่ายการบริหารกายวิถีพุทธ” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ รองประธานมูลนิธิธรรมอิสระ กล่าวในตอนท้ายว่า เป็นการเปิดอบรมคณะครู อาจารย์ เยาวชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ รวม 30 แห่ง โดยพิจารณาคัดเลือกครู-อาจารย์ โรงเรียนละ 2 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 5 คน มาฝึกอบรมการออกกำลังกาย “บริหารกายวิถีพุทธ” อย่างถูกต้องกับคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น กลุ่มของครู-อาจารย์ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม 2550 ณ อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ จากนั้นจะเปิดอบรมให้กับนักเรียนแกนนำ ในวันที่ 8-10 ธันวาคม 2550 ที่สถานปฏิบัติธรรมเขาดินหนองแสง จังหวัดจันทบุรี

“เราเปิดอบรมครูพี่เลี้ยงเป็นกลุ่มแรก และต่อด้วยนักเรียนแกนนำ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมก็จะมีคู่มือการฝึกฝนและวีซีดีประกอบ เพื่อนำกลับไปฝึกฝนด้วยตัวเอง โดยครูอาจารย์ที่ผ่านการอบรมไปแล้ว ทางโครงการฯ จะคอยติดตามผล ด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการทำวิจัยแก่คณะครูอาจารย์ หลังจากเปิดสอนกิจกรรมการออกกำลังกายแนวใหม่นี้ในโรงเรียนของตน ส่วนนักเรียนที่เป็นแกนนำของเรา ก็จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท จากการทำหน้าที่ถ่ายทอดทอดและเป็นพี่เลี้ยงให้กับพี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆ ในโรงเรียนครบ 1 ปีเต็ม เพื่อเด็กๆ จะได้มีกำลังใจและมีความสุขในการทำหน้าที่ของเขาด้วย”

นอกจากจะจะเปิดอบรมครู-อาจารย์ และนักเรียนแกนนำแล้ว สำหรับประชาชนทั่วไปที่รักสุขภาพและการออกกำลังกาย สามารถมาพิสูจน์และเรียนรู้การออกกำลังกาย “บริหารกายวิถีพุทธ” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

“ผมอยากจะทิ้งท้ายคำพูดของหลวงปู่พุทธะอิสระที่ว่า “ไล่ตามโรค คงยากที่จะชนะโรค ทำไมไม่หาวิธีทำให้ไม่เกิดโรค ดูจะง่ายกว่า” ซึ่งเรากำลังเชิญชวนให้ทุกคนหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองด้วยการออกกำลังกายที่อิงวิถีพุทธ ซึ่งหลวงปู่ได้รังสรรค์ขึ้น ใช้เวลาวันละไม่กี่นาที แต่เราจะเหนื่อยมาก หลังจากนั้นจะรู้สึกสดชื่น เพราะแต่ละท่ามีแรงต้านภายใน ทำไปก็เหมือนกับได้นวดไปด้วย ลดอาการปวดเมื่อยไหล่ แขน ข้อศอก เอว คอ หลัง ข้อมือ หน้าอก หน้าท้อง สะโพก ต้นขา อวัยวะภายใน อย่างหัวใจ ปอด ไต ม้าม เลือดลมเดินได้สะดวก ขับลมในกระเพาะ ที่สำคัญคือทำให้มีสติตั้งมั่นดีเยี่ยม” นายจิโรจน์ กล่าวในที่สุด

การบริหารกายวิถีพุทธ ถือเป็นการออกกำลังกายที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างกายกับจิต และถือเป็นภูมิปัญญาตะวันออก โดยใช้หลักกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ที่ประกอบด้วย 3 วิธีปฏิบัติ คือ 1. อานาปานสติบรรพ คือ การมีสติ ระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออก 2. สัมปชัญญะบรรพ คือ มีสติรู้อาการโยกเคลื่อนไหว 3. อิริยาบถบรรพ คือ สติรู้อาการยืนเดินนั่งนอน

นอกเหนือไปจากนั้นการบริหารกายวิถีพุทธ ยังถือเป็นการบริหารกายและจิต เพื่อให้เกิดสติ สมาธิ และพัฒนาจิตของผู้ฝึก ไปตามการเคลื่อนไหว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ฝึกเป็นคนมีสมาธิ มีสติตั้งมั่น สุขภาพแข็งแรง และมีการจัดระเบียบร่างกายในทางที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ในชีวิตประจำวัน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานที่ ทุกเวลา และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น"

ไทยอริโซน่า พุทธศาสนา สังคม วัฒนธรรม ข่าวสาร เพื่อคนไทยในอริโซน่า - 5 วิธีง่ายๆ ในการลดความอ้วน

ไทยอริโซน่า พุทธศาสนา สังคม วัฒนธรรม ข่าวสาร เพื่อคนไทยในอริโซน่า - 5 วิธีง่ายๆ ในการลดความอ้วน: "5 วิธีง่ายๆ ในการลดความอ้วน PDF พิมพ์ ส่งอีเมล์
ส่งเรื่องโดย Spice 88

ความอ้วนยังทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ โดยในผู้หญิง...

ความอ้วนยังทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ โดยในผู้หญิงจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ตั้งครรภ์ยาก เพราะมีปริมาณฮอร์โมนไปยับยั้งการตกไข่


“สถิติของสหรัฐวิจัยพบอย่างชัดเจนว่า คนอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็ง ผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่ผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูกและเต้านม การป้องกันไม่ให้อ้วน คือเลือกกินอาหารให้ถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน”ศ.นพ.สุรัตน์ กล่าว


รศ.พญ.อุมา พร สุทัศน์วรวุฒิ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรคอ้วนนี้ควรป้องกันตั้งแต่วัยเด็ก โดยการสร้างนิสัยการกินที่เหมาะสม เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้อาหารเสริมตามวัย เน้นที่เป็นพวกธัญพืช และต้องไม่หวานจัดหรือมันจัด เมื่อเด็กอิ่มไม่ควรป้อนหรือให้กินขนมจุบจิบ ฝึกออกกำลังกาย หรือจัดกิจกรรมให้วิ่งเล่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ


สำหรับ บุคคลที่ตั้งใจลดน้ำหนักจริงๆ นั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความร่วมมือของครอบครัว หากรู้ตัวว่าจะเป็นโรคอ้วนต้องมารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าให้อ้วนมากเพราะจะรักษายาก โดยทางแพทย์จะมีหลักการคือ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ถ้าอ้วนรุนแรงจนมีโรคแทรกซ้อนให้รับไว้ในโรงพยาบาล อย่าซื้อยาลดความอ้วนกินเอง



5 วิธีง่ายๆ ในการลดความอ้วน


1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ พยามยามลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจทำให้คุณรับประทานอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น ที่สำคัญควรรับประทานประเภทผักใบเขียว เพราะจะมีใยอาหารอยู่มาก


2.พยายามดื่มน้ำก่อนอาหาร เพื่อถ่วงกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเลือกรับประทานใยอาหารก่อนอาหารประมาณครั้งชั่วโมงแทน


3.เพื่อผลทางจิตวิทยา ควรใช้ภาชนะเล็กลง โดยมีปริมาณอาหารเท่าเดิม เพื่อ ให้ดูว่ามีอาหารมากขึ้น และควรใช้ช้อนขนาดเล็ก เพื่อจะได้รับประทานช้าลง ที่สำคัญควรฝึกเคี้ยวช้าๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น


4.หาเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้น มัก มีความเชื่อผิดๆ กันว่า การออกกำลังกายมากขึ้น จะทำให้หิวเร็วและรับประทานอาหารมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ได้ออกกำลังกาย จะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย จึงมักขจัดความเบื่อนี้ด้วยการรับประทาน การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีช่วยลดความเบื่อหน่าย และเพิ่มการใช้พลังงานเพื่อเผาผลาญไขมันสะสมให้ลดน้อยลง


5.สร้างสิ่งจูงใจ หรือทัศนคติดีๆ ต่อพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น การเขียนข้อความเกี่ยวกับการลดความอ้วน หรือชุดสวยๆ ในสมัยก่อนที่เคยใส่ได้ เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมาย และสามารถกระตุ้น หรือจูงใจให้มีความพยายามมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด พยายามพักผ่อนให้มากๆ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้ามีรูปร่างที่สวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ต้องอาศัยอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากสุขภาพไม่ดี


เอาเถอะค่ะ คุณผู้อ่านคะ ไม่ว่าจะเป็น “ความอ้วน” ในแบบที่รู้สึกกันไปเอง เพราะแยกไม่ออกระหว่างอวบ ท้วม โครงร่างใหญ่ กับความอ้วน หรืออ้วนเพราะโรคอ้วนคุกคาม ล้วนเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความใส่ใจทั้งสิ้น


ในแง่บุคลิกภาพแล้ว ไม่ว่าจะมาแบบไหน เราก็มีวิธี “ผ่อนหนักให้เป็นเบา” ได้ ด้วยการใส่เสื้อผ้าอำพราง หรือแก้ไขสัดส่วนที่เป็นจุดอ่อน เช่น อ้วนก็ใส่ลายดอกที่ดอกมันเล็กๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม ไม่ ใช่ลายดอกใหญ่ๆ ที่พอเราคว้ามาสวมใส่ มันยิ่งดูใหญ่อีกเป็นทวีคูณ หรือใส่ลายตั้ง ไม่ใช่ลายขวาง อย่างนี้ก็พอช่วยพรางสายตา หรือการมองของคนอื่นได้บ้าง


การแต่งหน้าที่ช่วยให้แก้มตอบ และดูสดใสกระฉับกระเฉงก็ช่วยได้ แต่ ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับความเชื่อมั่นในตัวเอง ความมั่นใจ และความสดชื่นรื่นเริง เพราะจะทำให้คุณโดดเด่น มีชีวิตชีวา มีเสน่ห์ จนหลายคนมองข้ามรูปร่างที่อาจจะเกินมาตรฐาน หรือสัดส่วนที่ชวนมองไปบ้าง


ดิฉันขอแนะนำว่า อย่าอมทุกข์กับรูปร่างเสียจนประกายแห่งความกังวล ขาดความเชื่อมั่นนั้น แผ่กระจายออกมาทางบุคลิกภาพ ขอ ให้เชื่อว่าคนที่รู้จักพูดจา ฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ มีสาระ และน่ารักนั้น ไม่ว่ารูปร่างเขาจะเป็นฉันใด ใครๆ ก็ยังนิยมยกย่องได้ทั้งนั้น


ยิ่ง บวกรวมกับนิสัยดีๆ ท่าทีที่เป็นมิตร มีชีวิตชีวา น่ารัก คล่องแคล่ว รอบรู้ และแต่งเนื้อแต่งตัวเป็น ความอ้วนก็ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ ระหว่างนั้นเราก็พยายามลดความอ้วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากกลัวภัยจากโรคอ้วน ยิ่งต้องเอาจริงเอาจังต่อการกินและอยู่ แล้วเสน่ห์กับการดูแลรูปร่างจะมาบรรจบกันในวันหนึ่ง


วันนั้นเอง ที่คุณจะสบายใจกับรูปร่างของตัวเอง แล้วพลังของความสุขใจจะไปผสานกับต้นทุนของความดูดีที่คุณหมั่นสร้างเอาไว้แล้ว


จะไม่มีใครโดดเด่นเกินคุณ!!



Source: http://women.sanook.com/health/healthcare/sick_50925.php"

กินแบบพุทธ หยุดความอ้วน

"กระทู้โดย : .. 23/10/2006 , 23:32:06
ปัจจุบันนี้วงการแพทย์ถือว่าความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและจะก่อเกิดโรคอันตรายอื่น ๆ ตามมา อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ

ในพระไตรปิฎกท่านก็กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า ร่างกายอ้วนเกินไปเป็นสิ่งไม่ดี เพราะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดอุ้ยอ้าย อายุสั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอ้วนตามหลักพุทธศาสนาท่านว่าเกิดจากความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค

ดังนั้นในวันนี้เราจึงขอเสนอเทคนิคการควบคุมอาหารแบบพุทธอันอาจจะช่วยให้ ท่านลดความอ้วนอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น


๑. พิจารณาถึงผลดีของการควบคุมอาหาร ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งชื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ทรงมีพระวรกายที่อ้วนมาก เพราะทรงเสวยพระกระยาหารจุเกินไป ความอ้วนทำให้พระองค์ไปไหนมาไหนไม่ค่อยจะสะดวก

วันหนึ่ง...พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสังเกตเห็นความอุ้ยอ้ายอึดอัดในพระวรกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงตรัสพระคาถาว่า 'บุคคลผู้มีสติอยู่เสมอ รู้ประมาณในอาหารที่ได้มา จะมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า มีอายุยืนนาน ' (สุตตันต.เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๓๖๕ หน้า ๑๑๖ )

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงให้พระราชนัดดา (หลาน) ของพระองค์คอยว่าคาถานี้ทุกครั้งที่พระองค์กำลังจะเสวยพระกระยาหาร ปรากฏว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลสามารถลดความอ้วนได้สำเร็จเพราะคาถานี้เอง

คุณสามารถที่จะใช้วิธีแบบพระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยคุณอาจจะเขียนข้อความพรรณนาถึงผลดีของการบริโภคแต่พอดีว่ามีผลดีต่อสุขภาพร่างกายเพียงไร (ให้เขียนเอาเอง)

จากนั้นเวลาจะรับประทานอาหารคราวใดก็ให้หยิบกระดาษโน้ตนี้ขึ้นมาอ่านไปพลางรับประทานอาหารไปพลาง

วิธีการนี้จะทำให้คุณมีสติยั้งคิดในการรับประทานอาหารตลอดเวลา ทำให้สามารถควบคุมการบริโภคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


๒ . เห็นความทุกข์ยากของเพื่อนร่วมโลก วิธีคิดแบบนี้นอกจากจะฝึกลดความต้องการบริโภคแล้ว ยังเป็นการ ฝึกจิตใจของตนเองให้เกิดความเมตตากรุณาอีกด้วยครับ วิธีคิดนี้ได้มาจากพระไตรปิฎก มีพระสูตรหนึ่งที่สอนให้เราไม่ควรบริโภคอาหารด้วยความสนุกสนานเมามัน แต่ควรบริโภคด้วยความรู้สึกเห็นคุณค่าของอาหารที่ช่วยให้เรามีชีวิตรอดต่อไป

เพื่อพัฒนาตนให้พ้นจากสังสารวัฏอันยาวใกล โดยให้คำนึงถึงความทุกข์ยากของสรรพสัตว์ที่ต้องยอมเสียสละชีวิตเพื่อให้เราอยู่รอด อุปมาพ่อแม่จำใจต้องรับประทานเนื้อบุตรของตนเองกลางทะเลทรายเพื่อเอาชีวิตรอดเดินทางต่อไป ( สุตตันต.เล่ม๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๒๔๐ หน้า ๑๐๘)

จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถที่จะนำมาประยุกต์เป็นวิธีคิดลดความต้องการบริโภคของเรา แบบง่าย ๆ คือเมื่อใดก็ตามที่เราเห็นโฆษณาหรือภาพของอาหารน่ากินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ให้คุณมีสติตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ภาพของสิ่งของที่น่ากินต่าง ๆ เหล่านี้มากระตุ้นจิตใจของคุณให้เกิดความต้องการบริโภค

พร้อมกันนั้นให้ใช้พลังจินตนาการของคุณสร้างความคิด 'เชื่อมโยง' มองให้เห็นภาพความทุกข์ยากของสรรพสัตว์ที่อยู่เบื้องหลังภาพอาหารอันน่าเอร็ดอร่อยต่าง ๆ นี้เป็นการภาวนาตามหลักพุทธศาสนา

คือ สร้างความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย และด้วยคุณธรรมที่เกิดขึ้นนี้เองจะบรรเทาความรู้สึกต้องการบริโภคให้น้อยลงไป แต่อย่าลืมว่าคุณต้องมีสติตั้งมั่นอยู่เสมอ เพราะระบบบริโภคนิยมที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณนั้น พร้อมที่จะปรุงแต่งจิตใจของคุณให้ต้อง การบริโภคอยู่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่าง...

เห็นร้านไก่ทอดชื่อดัง อึม..ม ชักหิวแล้วสิเรา

คิดในใจ เห็นภาพไก่น้อยน่าสงสารถูกขังอยู่ในกรง ถูกป้อนสารเคมี แถมกลางคืนก็ไม่ให้ได้หลับนอน ด้วยการเปิดไฟสว่างไว้ทั้งวันทั้งคืน เพื่อเร่งให้โตเร็ว ๆ โถ..น่าสงสารจริง ๆ เจ้าไก่น้อย

เห็นใส้กรอกน่าอร่อย หู..ว ใส้กรอกทอดหอมกรุ่นบนเตา

คิดในใจ เห็นภาพเจ้าหมูนอนคุดคู้อยู่ในกรงเหล็กอันร้อนระอุ เจ้าคงจะไม่รู้สินะว่าเขาจะพาเจ้าไปฆ่าเพื่อนำไป เป็นอาหารของมนุษย์

เห็นช็อคโกแล็ตน่ากิน หีบห่อน่ารัก คิกขุ น่าขบเคี้ยว

คิดในใจ เห็นคนในชนบทต้องลำบากตากแดดตัดอ้อยเพื่อมาทำน้ำตาลใส่ช็อคโกแล็ต ชาวชนบทเหล่านี้นอกจากจะถูกกดขี่ค่าแรงแล้ว บางทีก็ถูกมอมเมายาเสพติดอีกด้วย โถ..น่าสงสารจริงๆ

ถัดจากนั้นก็ให้นึกเห็นโคนมที่ถูกรีดนมจนเต้าระบมเพื่อเอานมไปเป็นส่วนผสมกับโกโก้เพื่อผลิตเป็นช็อคโกแล็ต ฯลฯ

ไม่ยากเลยใช่ใหม...เพียงแต่เราจะต้องมีสติคิดให้ทันกับสิ่งที่มากระทบสายตา ซึ่งสามารถพบเห็นได้อยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาในโทรทัศน์ อาหารน่ากินต่าง ๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารต่าง ๆ ฯลฯ

การปรุงแต่งความคิดเพื่อให้เกิดความเมตตากรุณานี้จะเป็นคุณค่าทางอารมณ์ใหม่ที่มาทดแทนความรู้สึกต้องการบริโภคที่คุณถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาจากสิ่งรอบ ๆ ตัว

วิธีคิดเช่นนี้จะช่วยให้ความต้องการบริโภคของคุณลดลงไปเองโดยธรรมชาติแน่นอน เมื่อความต้องการบริโภคลดลง ความอ้วนก็ย่อมลดลงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน


๓. ฝึกจิตคิดเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลในขณะบริโภคอาหาร ตามปรกติปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปเมื่อรับประทานอาหารที่มีรสชาติอร่อย จิตใจของเขาก็จะรู้สึกปลาบปลื้มยินดีกับรสชาติของอาหารนั้น ทำให้รู้สึกอยากจะรับประทานเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะแน่นท้องรับประทานไม่ไหว

หรือ คิดติดใจว่านี้คืออาหารโปรดของเรา ที่จะต้องกลับมารับประทานบ่อย ๆ อะไรทำนองนั้น นี่คือความคิดปรุงแต่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของปุถุชนที่ไม่ได้รับการศึกษา

วิธีการต่อไปนี้จึงเป็นท่าไม้ตายในการทำลายความยึดติดในรสชาติของอาหาร นั่นคือ ฝึกจิตคิดเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลในขณะบริโภคอาหาร ด้วยการนึกเห็นสภาพของอาหารว่าเป็นปฏิกูลในขณะที่เราขบเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก เช่น อาจจะนึกจินตนาการให้เห็นภาพอาหารที่เราขบเคี้ยวอยู่นี้อยู่ในใจว่ามีสภาพเป็น อาจม หรือ อาเจียน

หรือนึกให้เห็นอาหารนั้นอยู่ในสภาพที่เน่าบูดมีแมลงวันตอมก็ได้ ฯลฯ คือ จะนึกปรุงแต่งอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้เห็นภาพความเป็นปฏิกูลของอาหารในขณะที่เราขบเคี้ยวอาหารอยู่เป็นใช้ได้ เป็นวิธีคิดที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาพระว่า

'อาหาเรปฏิกูลสัญญา' เป็นเทคนิคการคิดที่ทำให้จิตใจของเราคลายจากความยึดติดในรสชาติของอาหาร ถอยกลับคืนสู่ความเป็นปรกติ ทำให้เกิดการบริโภคอย่างพอดี ไม่บริโภคมากจนเกินไป และ สามารถควบคุมจิตใจของตนเองไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับอาหารโปรดแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปพึ่งอาศัยยาแต่อย่างใด

คุณไม่ต้องกลัวว่าการนีกเช่นนั้นจะทำให้คุณผะอืดผะอม กระอักกระอ่วน หรือ รับประทานอาหารไม่ลง...เพราะนี่เป็นเพียงแค่การนึกภาพในใจไม่ใช่การเห็นของจริงแต่อย่างใด

ในทางตรงกันข้าม หากคุณพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง คุณจะได้สัมผัสความรู้สึกสงบสันติสุขในขณะรับประทานอาหาร เป็นความสุขทางใจที่คุณอาจจะไม่เคยได้พบมาก่อนในชีวิต นี้เป็นเทคนิคกระทำในใจอันแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ในทางพุทธศาสนาที่จะทำให้จิตใจของท่านหลุดพ้นจากอำนาจราคะที่เกิดจากรสชาติอาหารนั่นเอง

อนึ่ง...อันที่จริงแล้วการควบคุมอาหาร หรือ การลดความอ้วน นี้เป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ของคิดแบบ 'อาหาเรปฎิกูลสัญญา' เท่านั้นเอง แต่ผลตอบแทนอันคุ้มค่าสำหรับการฝึกคิดเช่นนี้ ท่านว่ามีอานิสงส์มากทีเดียว คือ สามารถทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสหยาบ ๆ ได้ ทำให้เรามีสุขภาพจิตผ่องใส มีสติปัญญาสว่างไสว อันเป็นบาทฐานไปสู่การหยั่งลงสู่อมตะ (ความไม่ตาย หลุดพ้น หมดทุกข์สิ้นเชิง) เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธองค์เลยทีเดียว

ดังจะขอยกพระสูตรมาอ้างดังต่อไปนี้


....... ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออกฉะนั้น...."